"คิดต่าง"อย่างชาวนา100 ล้าน

25.10.57
โดยข่าวสด เมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คอลัมน์ เมืองไทย 25 น.

ทวี มีเงิน

ขณะ ที่ปัญหารายได้ของชาวนายังชักหน้าไม่ถึงหลัง นโยบายจำนำข้าวก็ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี นโยบายแจกเงินไร่ละพันก็แค่ผ่อนหนักให้เป็นเบายังมีชาวนาบางกลุ่มก็พยายามหา ช่องทางใหม่ๆ เพื่อ จับกลุ่มเฉพาะ หรือ Nich Market อย่างปลูกข้าวปลอดสารพิษ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิลแม้กลุ่มผู้บริโภคยังไม่กว้างแต่คู่แข่งน้อยจึงได้ราคาดี

มี บางกลุ่มกลับ คิดต่าง หาช่องทางสร้างตลาดใหม่ๆ อย่างที่หลายคนคาดไม่ถึงอย่างเช่น สุทิน กองทอง เจ้าของโรงสีเกริก เชียงรายที่หันมาปลูกข้าวญี่ปุ่น เพื่อป้อนร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเฟื่องฟูในบ้านเรา โดยปลูกข้าวญี่ปุ่นพันธุ์ อคิตะโค มาชิ หลังจากที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทดลองปลูกในพื้นที่ซึ่งเหมาะสำหรับเมืองไทย และความต้องการสูงโดยป้อนให้กับร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทุกวัน ความต้องการแต่ละปี 8,000-10,000 ตันต่อปี

สุทินเริ่มปลูก ข้าวญี่ปุ่นอย่างจริงจังปี 2550 ทุกวันนี้มีชาวนาในพื้นที่ปลูกข้าวญี่ปุ่นมากขึ้นและส่งข้าว ให้กับโรงสีเกริกเป็นเครือข่ายกันราวๆ 500-600 ครัวเรือนพื้นที่ปลูกประมาณ 4 พันไร่เฉพาะเครือข่ายโรงสี เกริกผลิตได้ 1,500-2,000 ไร่ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 40-42 บาทต่อกิโลฯ

ตอนนี้ยกระดับรวมตัวกันเป็น ชมรมผู้ประกอบการข้าวญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดยุทธศสาตร์แนวทางการปลูกข้าวญี่ปุ่นให้มีต้นทุนถูกลงและมีคุณภาพ สูงขึ้น นอกจากนี้ สุทิน ยังขยายพื้นที่ปลูกข้าวไทยคุณภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิ หอมมะลิแดง หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งตลาดโลกต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แถมยังต่อยอดนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสุขภาพ อย่างเช่นนำรำข้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์เสริมความงามภายใต้แบรนด์ ถาดทอง โดยขายผ่านเว็บไซต์เท่านั้น

อย่าง ไรก็ตามสำหรับการปลูกข้าวญี่ปุ่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องยากและท้าทายที่นำเข้ามาทดลองปลูกในบ้านเราแต่ก็ไม่เกินความ สามารถของชาวนารุ่นใหม่อย่าง สุทิน ที่มีจิตใจที่มุ่งมั่น ขยันเรียนรู้ ปรับตัวไม่หยุดและทำเต็มที่ เพื่อพัฒนาการปลูกข้าวให้มีคุณภาพสูง

ด้วยจากความขยันคิด ขยันทำ เชื่อหรือไม่ผลลัพธ์ ที่ออกมาจึงสร้างรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ล้าน... เห็นไหมชาวนาก็รวยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น