การปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ด

22.6.57
การปลูกผักหวานป่า โดยคุณลุงอำนวย คลี่ใบ จ.แพร่

 
Read more ...

ดอกกระเจียว อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

22.6.57
 
เมื่อ 22 มิ.ย.2557 เวลาประมาณ 21.00 น.

รายการตลาดสดสนามเป้า พาไปชมสวนเพลาเพลิน สวนดอกกระเจียว ที่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

โดยทางสวนได้รวบรวมดอกกระเจียว จากทั่วประเทศไทย มาไว้มากกว่า 40 สายพันธุ์

ทำให้ทราบว่า เป็นดอกไม้ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้

ค่าเข้าชมคนละ 150 บาท

วิธีการปลูกไม่ยาก นำหัวไปใส่กระถางปลูกไว้ 2 เดือนครึ่งก็จะออกดอก

ราคาขายดอกละ 15- 20 บาทเลยทีเดียว
Read more ...

การขยายพันธุ์เบญจมาศ

15.6.57
การขยายพันธุ์ (propagation)

เบญจมาศสามารถจะขยายพันธุ์ได้หลายวิธีด้วยกันคือ โดยการใช้เมล็ด(seeds) ใช้กิ่งปักชำ (cuttings) การแยกหน่อ (divisions) และการต่อกิ่ง (grafting) แต่การต่อกิ่งไม่นิยมทำ จะทำก็ต่อเมื่อต้องการโชว์เท่านั้น ทั้งนี้เพราะทำได้ช้าเสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงานโดยใช่เหตุ การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดก็เช่นเดียวกันไม่นิยมทำจะใช้วิธีการนี้เมื่อผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ พันธุ์ใหม่เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่ามีการขยายพันธุ์เบญจมาศที่นิยมทำกันอยู่เพียง 2 วิธีเท่านั้น

1. การใช้กิ่งปักชำ (cuttings) เรานิยม ter­minal cutting คือใช้ส่วนยอดของกิ่ง (shoot) ไปปักชำเป็นส่วนใหญ่ กิ่งที่เหมาะสำหรับการนี้ควรจะเป็นกิ่งที่อยู่ส่วนล่างหรืออยู่ส่วนโคนของพุ่มต้นมากกว่ากิ่งที่อยู่ส่วนบน ทั้งนี้เพราะกิ่งส่วนที่อยู่ส่วนล่างหรือโคนต้นนั้น ส่วนมากเป็นกิ่งที่มีตาใบมากกว่าตาดอก เมื่อนำไปปักชำ จึงทำให้ออกรากง่ายได้กิ่งชำที่สมบูรณ์กว่า อีกประการหนึ่งควรจะเลือกสรรกิ่งที่ได้จากต้นที่ปราศจากเชื้อโรค ทั้งนี้เพราะโรคบางชนิดที่ เกิ่ดขึ้นกับเบญจมาศสามารถถ่ายทอดไปในที่ต่าง ๆ ได้โดยติดไปกับกิ่งปักชำ และควรจะเลือกจากต้นที่มีลักษณะดีเด่น ต้นมีสภาพสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงรบกวน

ในต่างประเทศจะมีเนิสเชอรี่ที่ทำกิ่งปักชำเบญจมาศขายโดยเฉพาะผู้ปลูกจะสามารถเลือกซื้อกิ่งชำจากเนิสเชอรี่ต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ และมักจะเลือกซื้อจากเนิสเซอรี่ที่เชื่อถือได้เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยเรายังไม่มีบริการอันนี้ แต่ถ้าเราจำเป็นจะต้องขยายพันธุ์เบญจมาศด้วยกิ่งปักชำแล้วก็สามารถจะทำได้ แต่จะต้องมีวิธีการทำที่ถูกต้องจึงจะบรรลุผลตามเป้าหมาย

วัสดุที่ใช้ปักชำควรจะปราศจากเชื้อโรค มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ จากการทดลองพบว่าทรายสะอาดผสมกับขี้เถ้าแกลบ หรือทรายสะอาด ผสมกับปุ๋ยมะพร้าวในอัตราส่วน 1 : 1 เหมาะที่สุด ระยะเวลาที่ใช้ในการปักชำ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพันธุ์ (10-30 วัน) การใช้แนบทาลีนอซีติคแอซิด (NAA) ผสมกับอินโคลบิวทีริคแอซิด (IBA) ความเข้มข้น 5,000 ppm. จะทำให้กิ่งชำเบญจมาศออกรากเร็วขึ้น

2. การแยกหน่อ เบญจมาศบางพันธุ์สามารถ แตกหน่อได้ดีมาก โดยเฉพาะพันธุ์เบญจมาศที่สั่งมาจากญี่ปุ่น คือหลังจากให้ดอกแล้ว ต้นจะแตกกอมีหน่อมาเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาพบว่าเบญจมาศที่ปลูกไป 1 ต้น จะให้จำนวนหน่อโดยเฉลี่ยประมาณ 10 หน่อ แต่ละหน่อจะมีรากติดอยู่ด้วย เมื่อแยกเอาหน่อเหล่านี้ไปปลูก จะได้ต้นที่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตดีกว่าการ ปลูกโดยใช้กิ่งปักชำ

การปรับปรุงคุณภาพเบญจมาศ

1. ลดจำนวนดอกต่อต้นให้เหลือเพียงดอกเดียว อาหารที่สร้างและสะสมมาจะถูกส่งไปเลี้ยงดอกยอดหมด จึงทำให้คุณภาพดอกดี ดอกมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และแข็งแรง

2. เพิ่มปริมาณต้นให้มากขึ้น ตามปกติที่มีการเด็ดยอดเบญจมาศ มักใช้ระยะปลูก 6X8 นิ้ว หรือ 8X 8 นิ้ว เพื่อที่จะเว้นระยะให้ต้นเบญจมาศแตกพุ่มได้โดยสะดวก ในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ปลูกเบญจมาศได้ 36 ต้นๆละ 5 ดอก ได้จำนวนดอก 180 ดอก แต่ถ้าเราปลูกแบบไม่มีการเด็ดยอด จากการทดลองพบว่าระยะปลูกใช้เพียง 4X4 นิ้ว ในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ปลูกได้ 100 ต้นๆ ละ 1 ดอก ได้จำนวนดอก 100 ดอก การปลูกแบบนี้ให้ผลผลิตต่ำกว่า 45% แต่ขายได้ราคากว่าเท่าตัว และต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าแบบเด็ดยอด ทำให้ได้กำไรมากกว่า

3. ผลิตดอกข้างดอกให้ทันเวลา ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ไม่ควรให้หน่อเจริญเติบโตในแปลงต่อไป จนให้ดอกชุดต่อ ๆ ไป ทั้งนี้เพราะดินในแปลงเดิมเริ่มแน่นไม่ฟูเหมือนเดิม อันเนื่องจากการเหยียบย่ำเข้าไปทำงานในแปลงอยู่ตลอดเวลา อาหารและอากาศในดินมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของราก การที่มีหน่อใหม่เกิดขึ้นมาใหม่ เป็นจำนวนมากประมาณ 10 เท่าของจำนวนต้นเดิม ทำให้การแก่งแย่งในการหาอาหารและแสงแดดมีมากขึ้น ดอกที่รอดมาจึงไม่ได้คุณภาพ

5. ควรรื้อแปลงปลูกทันที หลังจากตัดดอกหมด แล้วและนำหน่อที่ได้ไปปลูกในแปลงใหม่ต่อไป

6. หน่อที่นำไปปลูกในแปลงใหม่ควรจะคัดเลือก ให้มีขนาดและความสมบูรณ์เสมอกัน  เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานที่เป็นไปพร้อม ๆ กัน

pH ของดินที่เหมาะอยู่ระหว่าง 6.0-7.0 ถ้าเป็นกรดมากเกินไปจะทำให้เบญจมาศชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกร็น ส่วนยอดและด้านหลังใบจะเหลือง แสดงอาการ Chlorosis ถ้าดินเป็นด่างมากเกินไปจะทำให้ต้นพืชขาด ธาตุเหล็ก อาการที่แสดงออกมาก็คือใบเหลืองเช่นกัน ดินที่ใช้ปลูกเบญจมาศ ควรจะเป็นดินร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมากคือประมาณ 1/3 – 1/4 ของปริมาตรดินที่ใช้ปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ของกทม. เบอร์ 902 ควรจะใช้ได้ผลดีในการผสมกับดินที่ ใช้ปลูก นอกจากนี้ดินควรจะมีการระบายน้ำดี

7. การปลูกใหม่แต่ละครั้งไม่ควรจะปลูกซ้ำแปลงเดิม ควรจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปลูกเบญจมาศกับพืชอื่นที่มีอายุใกล้เคียงกัน ปัญหาเรื่องโรคแมลงอันมีสาเหตุมาจากการปลูกซ้ำที่หรือซ้ำพืชจึงหมดไป

8. ควรจะมีโปรแกรมการให้ปุ๋ยที่แน่นอน เป็นที่ทราบแล้วว่าไม้ดอกส่วนมากมีอายุสั้น ปลูกไปไม่นานก็มีดอก โดยเฉพาะเบญจมาศซึ่งมีแนวโน้มที่จะบานดอกอยู่แล้ว ถ้าไม่มีโปรแกรมการให้ปุ๋ยที่แน่นอนและทันเวลา จะทำให้ดอกที่ได้มีขนาดเล็กไม่ได้คุณภาพ ฉะนั้นหลังจากปลูกเบญจมาศแล้วรอให้ต้นตั้งตัวได้ และเริ่มแตกรากใหม่ ควรจะให้ปุ๋ยทันที ควรจะเป็นปุ๋ยผสม ปุ๋ยที่ให้ในระยะ 2 เดือนแรกนี้จะต้องมีธาตุไนโตรเจนสูง อัตราส่วนของปุ๋ยควรจะเป็น 3:2:1: ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การเจริญทางต้น หลังจากปลูกไปแล้ว 2 เดือน ควรจะเปลี่ยนปุ๋ยสูตรใหม่ให้มีไนโตรเจนต่ำลง มีฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น อัตราส่วนปุ๋ยในระยะนี้ควรจะเป็น 1:2:1 จนกว่าจะเก็บเกี่ยว การให้ปุ๋ยให้ทุก 7 วัน

9. มีโปรแกรมการฉีดยาป้องก้นโรคและแมลง ไว้ล่วงหน้าเป็นประจำอาทิตย์ละครั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ควรมีตารางการฉีดยาเป็นประจำ เช่น มีการฉีดยาฆ่าแมลงทุกวันจันทร์ ฉีดยากันราทุกวันพุธ และรดปุ๋ยทุกวันศุกร์เป็นต้น การรดน้ำถ้าเป็นไปได้ควรจะรดให้เปียกเฉพาะดินปลูกเท่านั้น การรดน้ำทั้งต้นทั้งดอกจะทำให้ ต้น ใบ และดอกเปียกน้ำ ย่อมส่งเสริมให้เกิด โรคได้ง่ายและช่วยแพร่กระจายเชื้อโรคจากจุดที่เป็นโรคไปยังส่วนต่างๆ อีกด้วย ส่วนยาฆ่าแมลงนั้นควรจะเลือกยาที่สามารถจะควบคุมแมลงได้กว้างขวางฉีดป้องกันไว้ก่อน

10. ป้องกันการร่วงหล่นของกลีบล่างของดอก กลีบดอกเบญจมาศร่วงได้ง่าย ถ้าไม่ป้องกันการร่วงหล่นของกลีบอันจะเกิดขึ้น จะทำให้ดอกบางลงไปมาก ไม่ฟูสวยเท่าที่ควร ในญี่ปุ่นใช้ไม้หรือลวดขดเป็นวงกลมเป็นชั้น ๆ รองรับตรงฐานของดอกไว้ ส่วนอังกฤษใช้ถุงตาข่ายพลาสติค จะขยายตัวตามไปจนในที่สุดดอกจะถูกตัดส่งไปยังผู้ค้าไม้ดอก
Read more ...

ปลูกผักหวานป่า

15.6.57
 
สารคดีเกษตร 20 พ.ค. 57

เริ่มจากเลือกพื้นที่ปลูกควรอยู่ใต้ร่มไม้ มีแสงแดดรำไร จากนั้นปรับสภาพดินให้เหมาะสม คือสามารถอุ้มน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี

ขั้นตอนการนำต้นกล้าผักหวานป่าลงปลูก จะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้รากกระทบกระเทือน  โดยให้ตัดก้นถุงปลูกออกก่อน ใช้มืออุ้มไว้แล้วค่อยๆ ลงปลูก ให้ต้นกล้าอยู่ระดับเดียวกับผิวดิน ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะแตกยอด

เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินไว้จะนำฟางข้าวมาคลุมบริเวณโคนต้นผักหวานป่า และที่สำคัญจะหมั่นดูแลแปลงให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

วิธีทั้งหมดนี้จะช่วยให้ต้นผักหวานป่าแข็งแรงและเจริญเติบโตดี แตกยอดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้กับการปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะที่ปลูกในพื้นที่ดินทราย จะช่วยให้ดินกลับมาอุ้มน้ำและมีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นด้วย

เกษตรน่ารู้ : เทคนิคการเพาะชำกิ่งผักหวานป่า วันที่ 26 มี.ค. 2014 

การเพาะชำกิ่ง ตอนผักหวานป่า เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ต้นผักหวานป่ารอดตายจำนวนมาก และเจริญเติบโตได้ดี            

โดยกิ่งตอนที่จะนำมาเพาะชำนั้น จะต้องมีรากสีเขียวสมบูรณ์ เมื่อตัดจากต้นแล้ว ให้ตัดกิ่งแขนงออกให้หมดด้วย เหลือเพียงกิ่งหลักไว้ จากนั้นตัดถุงพลาสติกที่หุ้มตุ้มตอนออกด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้มืออุ้มไว้ด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน แล้วนำไปปลูกลงถุงดำ ให้วัสดุปลูกมีความสูงระดับเดียวกับข้อตุ้มตอน จากนั้นนำไปอนุบาลในที่ร่ม ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะแตกยอด

 เกษตรน่ารู้ 1 มี.ค.56

การตอนกิ่งผักหวานป่า จะนิยมตอนกิ่งที่มีขนาดเล็ก แต่จะเลือกใช้กิ่งขนาดใหญ่ก็ได้ โดยแนะนำให้เลือกกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว มีสีน้ำตาลปนดำ มาควั่นกิ่งบริเวณใต้ตา ให้รอยแผลมีขนาดความยาว 2 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ขูดเมือกออก ใช้ฮอร์โมนเร่งรากทาที่บาดแผล นำตุ้มตอนมามัดไว้กับกิ่งตอน หมั่นรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 2 เดือน จะมีรากสีขาวงอกออกมา จึงค่อยเพิ่มขนาดตุ้มตอนให้ใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้รากมีพื้นที่ชอนไชและรากแข็งแรงขึ้น

วิธีการ โดยแกะถุงพลาสติกตุ้มตอนเดิมออก อย่าให้กระทบกระเทือนราก แล้วนำพลาสติกใหม่มาคลุมทับตุ้มตอนเดิม มัดพลาสติกด้านล่างไว้ก่อน นำขุยมะพร้าวชุบน้ำมาใส่เพิ่ม มัดปิดด้านบน ประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีรากสีเขียวงอกออกมา ให้ตัดกิ่งตอนและตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อลดการคายน้ำก่อนนำไปปลูก

สารคดีเกษตร 29 เม.ย.56 

ทีมข่าวเกษตรพามาที่ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์  แม้ว่าจะอยู่ในเขตแห้งแล้ง แต่เกษตรกรที่นี่มีรายได้ทุกวัน จากผักหวานป่าที่ปลูกแซมไว้ในสวนมะขามเทศ

แปลงนี้มี 7 ไร่ ปลูกผักหวานป่าด้วยการเพาะเมล็ดเพียง 1 ปี ก็เริ่มทยอยเก็บยอดขายได้เกือบทุกวัน แต่จะได้ผลผลิตเต็มที่เมื่อต้นมีอายุ 3 ปี ส่วนการดูแลจะใส่ปุ๋ยคอกปีละครั้งรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 กิโลกรัม ส่วนการให้น้ำในช่วงฤดูแล้งแบบนี้ เกษตรกรจะรดน้ำทุกๆ 7-15 วัน เพื่อรักษาความชื้นในแปลง ไม่ให้ต้นผักหวานขาดน้ำ

ขั้นตอนหลังเก็บผลผลิตแล้วก็สำคัญ เกษตรกรจะมัดผักหวานเป็นกำ แช่น้ำทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วใส่ตะกร้า ตั้งในที่ร่ม ใช้ผ้าห่มชุบน้ำคลุมไว้รักษาความสดของผักหวานป่าให้ถึงมือผู้บริโภค

การปลูกพืชแซมในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า และมีรายได้ตลอดทั้งปี

(ติดต่อ ประมล วงษ์มั่น เกษตรกร โทร.087-9152494)
Read more ...

อาชีพที่น่าทำ

15.6.57
เพาะเบญจมาศ
เพาะโกศล
เพาะอะโกนีมา
ปลูกไม้ดอก ไม้ใบกระถาง
ปลูกมะขามเทศ
ปลูกผักหวานป่า
ปลูกชะอม
เลี้ยงปลาหมอ

Read more ...

การปักชำ

7.6.57



1. ตัดใต้ตา
2. เหลือใบอย่างต่ำ 2 ใบ กับ 1 ยอด
3. ปักลงในดินที่ชื้นและแน่น ในแก้วใส
4. ครอบด้วยถุงพลาสติก
Read more ...

พืชที่ขยายพันธ์ด้วยระบบ "ปักชำ ควบแน่น"

7.6.57
 
 
 
1. มะนาว
2. มัลเบอร์รี่
3. ผักหวานป่า
4. มะเขือเทศ
5. กุหลาบ
6. ถั่วแปป
7. ดอกขจร
8. รักเร่
9. เบญจมาศ
10. ยอดฟักแม้ว
11. บานชื่นซ้อน
12. แตงกวาเทอร์โบ
13. เก๊กฮวยสีขาว
14. สะเดา
15. มะเดื่อ
16. มะกรูด
Read more ...

ลิงก์ขายต้นไม้ของอิเกียในประเทศต่าง

6.6.57






เป็นไอเดียผลิตต้นไม้ขายได้ครับ

http://www.ikea.com/cz/cs/catalog/categories/departments/decoration/10779/


http://www.ikea.com/us/en/catalog/categories/departments/decoration/10779/


http://www.ikea.com/jp/en/catalog/categories/departments/decoration/10779/


http://www.ikea.com/cn/en/catalog/categories/departments/decoration/10779/
Read more ...

วิธีปลูก avocado

6.6.57








โดย inhabitat 07/13/12

http://goo.gl/ilSJLd

Avocados are one of the wonderful fruits of summer. High in nutrition and flavor, nothing signals the start of summer like a zesty lime guacamole dip with tortilla chips. The next time you’re making guacamole or slicing an avocado for a salad, try saving your pits to grow into avocado trees. It’s surprisingly easy to grow your own avocado tree from seed, and it makes a great educational project for home and classrooms. Check out our handy-dandy guide below, complete with photos, to learn how to grow an avocado tree from seed.

Read more: HOW TO: Grow an Avocado Tree from an Avocado Pit How To Grow Avocado Trees From Seed - Gallery Page 1 – Inhabitat - Sustainable Design Innovation, Eco Architecture, Green Building

STEP 1 – REMOVE & CLEAN PIT

You’ll need to start by removing the pit from the avocado carefully (without cutting it), and then washing it clean of all the avocado fruit (often it helps to soak the pit in some water for a few minutes and then scrub all the remaining fruit off). Be careful not to remove the brown skin on the pit – that is the seed cover.

STEP 2 – LOCATE WHICH END IS ‘UP’ AND WHICH IS ‘DOWN’

Some avocado pits are slightly oblong, whereas others are shaped almost like perfect spheres – but all avocado pits have a ‘bottom’ (from where the roots will grow), and a ‘top’ (from which the sprout will grow). The slightly pointier end is the top, and the flat end is the bottom. In order to get your pit to sprout, you will need to place the bottom root end in water, so it’s very important to figure out which end is the ‘top’ and which is the ‘bottom’ before you go piercing it with toothpicks.

STEP 3 – PIERCE WITH FOUR TOOTHPICKS

Take four toothpicks and stick them at a slight downward angle into the avocado seed, spaced evenly around the circumference of the avocado. These toothpicks are your avocado scaffolding, which will allow you to rest the bottom half of the avocado in water, so therefore the toothpicks need to be wedged in there firmly. I recommend sticking them in at a slight angle (pointing down), so that more of your avocado base rests in the water when you set this over a glass.

STEP 4 – PLACE AVOCADO SEED HALF SUBMERGED IN A GLASS OF WATER

And set on a quiet windowsill with sunlight. It’s helpful to use a clear glass so you can easily see when roots start to grow, and also when the water needs to be changed. Many guides recommend to change the water every day, but I found, through trial and error, that it is better to change the water every five days to a week or so. You do want to make sure you change the water regularly, to prevent mold, bacteria and fungus growth, which can doom your little avocado sprout.

STEP 5 – WAIT FOR YOUR AVOCADO SEED TO SPROUT!

Many online guides I have read say that sprouting can take anywhere from 2-4 weeks, but in my experience, it usually takes at least 8 weeks to get a sprout, so be patient. Here is the process you will witness:

1. The top of the avocado pit will dry out and form a crack, and the outer brown seed skin will slough off.

2. The crack will extend all the way to the bottom of the avocado pit, and through the crack at the bottom, a tiny taproot will begin to emerge.

3. The taproot will grow longer and longer (and may branch), and eventually a small sprout will peek through the top of the avocado pit.

4. Do not allow your taproot to dry out unsubmerged EVER – doing so will be the death of your plant.

STEP 6 – POT IN SOIL WHEN TREE IS ABOUT 6” TALL

When the stem is 6-7 inches long, cut it back to about 3 inches, this will encourage new growth. When it hits 6-7 inches again, pot it up in a rich humus soil in an 8-10″ diameter pot, leaving the top half of the seed exposed. Place on a sunny windowsill. Avocados love sun – the more sun the better.

STEP 7 – WATER & WATCH IT GROW

Give it frequent waterings with an occasional deep soak. The soil should always be moist, but not saturated. Yellowing leaves are a sign of over-watering; let the plant dry out for a few days.

STEP 8 – PINCH OUT TOP LEAVES TO ENCOURAGE BUSHINESS

When the stem reaches 12 inches tall, pinch out the top two sets of leaves. This will encourage the plant to grow side shoots and more leaves, making it bushy. Each time the plant grows another 6 inches pinch out the 2 newest sets of leaves on top.

STEP 9 – TROUBLESHOOTING BUGS

My avocado trees seem to collect aphids – the nasty critters can’t get enough of the delicious avocado leaves. If you get them, here’s how to get rid of them: Wash all of the aphids off the plant by spraying your plant down with a hose outside or in the sink/shower. Once the little pests are off, spray your plant with a mixture of water with a small squirt of dishwashing liquid and a teaspoon of neem oil. This will keep aphids from returning. Check your plant every 4-5 days and re-clean and spray when necessary.

STEP 10 – WINTERING

Baby avocado trees can kick it outdoors in summer, but if you live anywhere where it gets cooler than 45 degrees F, you’ll need to bring them back indoors in the fall/winter, before the temperatures fall.

WILL MY AVOCADO TREES EVER GROW FRUIT?

Hard to say! Sometimes avocado plants will begin growing fruit after they’re 3 or 4 years old, others take 15+ years to grow fruit, and some never do. It helps to have several avocado trees growing together to aid with pollination. However, don’t expect the fruit to be anything like the avocado that yielded your seed. Commercial avocados are grown from grafted branches to control the outcome of the fruit – a naturally grown avocado may be very different than its parent!



Read more: HOW TO: Grow an Avocado Tree from an Avocado Pit How To Grow Avocado Trees From Seed - Gallery Page 1 – Inhabitat - Sustainable Design Innovation, Eco Architecture, Green Building
Read more ...