การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต (วิธีแบบ มทส.)

27.1.55
ข้อมูลโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด, รศ.ดร.หนึ่ง เตียอำรุง, นางสาวยุพยงค์ จันทร์ขำ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การปลูกข้าวในระบบประณีต (System of Rice Intensification; SRI) คือ การจัดการพืช การจัดการดิน และการจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งการผลิตข้าวในระบบของ มทส. เป็นการประยุกต์และปรับปรุงมาจากวิธีการผลิตข้าวในระบบ SRI ของ Dr.Norman Uphoff และคณะ จึงเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งได้แก่ แหนแดง ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยให้พื้นที่ปลูกข้าวมีน้ำขัง ประมาณ 2-5 ซ.ม. เพื่อให้สามารถเลี้ยงแหนแดงได้

แหนแดง (Azolla) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ

ความเหมาะสมของแหนแดงในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว

- แหนแดงสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณได้รวดเร็ว

- สามารถเลี้ยงแหนแดงได้ให้เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีไนโตรเจนต่ำ

- แหนแดงมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง (3-5%)

- แหนแดงสลายตัวได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิตปุ๋ยให้กับข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bioorganic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่เกิดจากกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆกัน และนำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบนี้จะต่างจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆไป เนื่องจากการผลิตปุ๋ยในระบบนี้จะใช้อุณหภูมิในระหว่างกระบวนการหมักสูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคน สัตว์ และพืช ตลอดจนเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้น ได้ทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งได้แก่ Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิตออกซินได้ นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราปฏิปักษ์ ไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และยับยั้งการทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย

ขั้นตอนการผลิตข้าวโดยการใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต

1. การเพาะกล้าสำหรับการผลิตข้าวในระบบ SRI

จากผลการทดลองในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีขั้นตอนและวิธีการในการเพาะกล้าดังต่อไปนี้

1. ใช้กระบะพลาสติกที่มีรูขนาดเล็กบรรจุด้วยขี้เถ้าแกลบที่เปียกชื้นจากการรดน้ำให้อยู่ตัว จากนั้นทำการเกลี่ยหน้าให้เรียบ (สามารถเพาะในแปลงขนาดเล็กได้)

2.โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำ 12 ช.ม. และห่อผ้า 1-2 คืน จนเมล็ดเริ่มมีรากงอก (เช่นเดียวกับการแช่เมล็ดสำหรับตกกล้า) โดยทำการโรยเมล็ดข้าวให้สม่ำเสมอ

3. โรยขี้เถ้าแกลบกลบบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ทำการรดน้ำให้ชุ่ม

4. วางกระบะกล้าไว้ในที่ร่ม เช่นในโรงเรือนเพาะชำ ใต้หลังคา หรือที่มีลมพัดผ่านได้ เมื่ออายุต้นกล้าได้ 5 วัน ให้นำออกตากแดดและเมื่ออายุได้ 8 วัน สามารถนำไปปลูก ในแปลงปลูกได้ ไม่ควรให้อายุกล้าเกิน 15 วัน เพราะรากกล้าจะยาวมากเกินไป การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนกล้าไปปลูกได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถยำไปได้ทั้งกระบะและวางไว้ใกล้ๆ กลับแปลงปลูก ทำให้ไม่เสียเวลาในการถอน และเคลื่อนย้าย แต่ถ้าเพาะในแปลงเพาะกล้าให้หว่านเมล็ดบางๆ

5. พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

2. การถอนกล้า และการขนย้ายต้นกล้า

- ควรทำการย้ายปลูกกล้าที่อายุประมาณ 8-15 วัน และยังคงให้เมล็ดข้าวติดอยู่

- ในกรณีเพาะในถาดสามารถยกถาดไปยังแปลงปลูกได้เลย

- กรณีเพาะกล้าในแปลงควรทำการถอนทีละน้อยย้ายปลูกทันที

- ควรทำการปักดำกล้าที่ถอนให้แล้วเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

- ไม่ควรล้างรากหรือให้รากกล้าแห้งก่อนทำการปักดำ

3. การเตรียมแปลงปลูก และการปลูกข้าวต้นเดี่ยว

1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1 คืน ทำการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามปริมาณที่ต้องการ

2. ใช้รถไถเดินตามตีดินให้เป็นโคลน โดยให้ระดับน้ำลึก 3-5 ซ.ม.

3. ทำการหว่านแหนแดง ประมาณ 1 กก./พื้นที่ 10 ตร.ม. ทิ้งไว้ 7-10 วัน

4. หลังจาก 7-10 วัน ให้ไถกลบแหนแดงลงแปลงปลูกและทำให้ดินมีลักษณะเป็นโคลน

5.นำเครื่องมือ ซึ่งทำจากท่อ PVC ลากขนานไปกับคันนาให้เป็นส้นตรงในแนวเดียวกันให้เต็มพื้นที่แปลงปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

6. นำข้างที่เพาะไว้ในกระบะเพาะ มาปลูกตรงรอยตัดของสี่เหลี่ยม โดยใช้นิ้วกรีดดินในแนวราบลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร

ต้นข้าวจะต้องตั้งฉากกับแนวราก เป็นรูปตัว “L” (L-shape) และหลังจากการทำการปักดำ 1-2 วัน ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกในระดับน้ำลึกประมาณ 2 ซ.ม. และทำการปล่อยแหนแดงให้ทั่วแปลงในอัตรา 10% ของพื้นที่

4. การดูแลรักษาแหนแดง และระดับน้ำในแปลงปลูก

- ทำการหว่านแหนแดงเพิ่มหลังจากการปักดำ 1-2 (หลังการใส่น้ำในแปลงข้าว)

- ควรให้ระดับสูงประมาณ 2 ซ.ม.ในครั้งแรก เพื่อป้องกันวัชพืชและการเพิ่มกระจายตัวของแหนแดงจากนั้นให้รักษาระดับน้ำไว้ประมาณ 5 ซ.ม.

- หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน


สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับแหนแดงและปุยอินทรีย์ชีวภาพ

1. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย

2. สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน

3. สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

4. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์กกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต

5. ประหยัดน้ำ

6. กำจัดวัชพืชและข้าวปนได้ง่าย

7. อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน

8.จำนวนการแตกกอสงกว่าปกติ 2-3 เท่า

9.เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปกติ

10. ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%
Read more ...

การปลูกข้าวแบบ SRI สำหรับเกษตรกรรายย่อย

27.1.55
ระบบการผลิตข้าวแบบ SRI หรือ System of rice intensification ได้รับการพัฒนาโดย

บาทหลวง Fr. Henri de Laulanie 

ในขณะที่ทำงานเพื่อปรับปรุงผลผลิตข้าวในประเทศมาดากัสการ์

ระหว่างปี 2504 - 38 (Uphoff, 2002) 

ระบบดังกล่าวนี้เน้นหลักการจัดการสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ของต้นข้าวให้เกิดการ เกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนแสดงออกซึ่งศักยภาพอย่างเต็มที่ ในทางปฏิบัติคือ ย้ายปลูกกล้าข้าวที่อายุ 8 - 10 วัน (ระยะ 2 ใบ) ให้รากได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยใช้ความหนาแน่น 1 ต้นต่อหลุม ที่ระยะตั้งแต่ 25 x 25 ถึง 40 x 40 ซม. ควบคุมการให้น้ำแบบสลับแห้งและเปียก ตั้งแต่ระยะย้ายปลูก จนถึงก่อนออกรวง และปล่อยน้ำท่วมขังที่ระดับ 2 ซม.

หลังต้นข้าวออกรวงจนถึงกระทั่ง 14 วันก่อนเก็บเกี่ยว จึงปล่อยน้ำทิ้ง กำจัดวัชพืชด้วยแรงคนโดยถูกลบวัชพืชระหว่างแถวข้าวด้วย "จอบหมุน" ประมาณ 10 วันหลังย้ายปลูก และทุก 10 วัน ประมาณ 3 ครั้ง ตามความจำเป็น งานวิจัยในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตข้าวโดยวิธี SRI เฉลี่ย 6.8 ตัน/เฮกตาร์ และกลุ่มที่ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 10.5 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการแบบเดิมให้ผลผลิตเฉลี่ย 3.9 ตัน/เฮกตาร์ (http://ciifad.cornell.edu/sri/)


หลักการปฏิบัติวิธีการแบบ SRI

- อายุกล้า 8-15 วัน (ระยะ 2 ใบ)

- ย้ายปลูก ต้นต่อหลุม (ระยะ 25x25 , 40x40)

- ลดการกระแทกของราก

- ให้น้ำสลับแห้งและเปียก จนถึงช่วงออกดอก

ความเป็นประโยชน์ของ SRI ในระบบข้าวของภาคเหนือตอนบน

- เหมาะสมสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก

- เหมาะสมสำหรับระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก

- เพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่สูง เพื่อลดการขาดแคลน

- เหมาะสมสำหรับแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก

งานทดลองที่ดำเนินการเพื่อปรับใช้วิธีการ SRI ในสถานีทดลองศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร และในพื้นที่เกษตรกรประกอบด้วย

ฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2544) 
ใช้พันธุ์ข้าว 5 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวสันป่าตอง1 หอมสกลนคร และพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิล หอมสุพรรณ และมะลิแดง ภายใต้การจัดการแบบ SRI และแบบปกติ เนื่องจากต้นกล้าเจริญเติบโตช้าภายใต้อุณหภูมิต่ำ กล้าข้าวที่ระยะ 2 ใบพร้อมย้ายปลูกได้มีอายุ 17 วันในระบบ SRI และอายุ 34 วันในระบบปกติ โดยใช้ระยะปลูก 25 x 25 ซม.

ฤดูฝน (กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2544) 
ดำเนินการทดลองทั้งในสถานีทดลองและในพื้นที่เกษตรกร ในสถานีทดลองได้ดำเนินการภายใต้มีปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกัน และปอเทือง) โดยมีพันธุ์ข้าวประกอบด้วย หอมสุพรรณ หอมนิล และหอมสกล นอกจากนี้ได้ดำเนินการเปรียบเทียบวิธีการ SRI และวิธีการปกติในกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียว (กข 6 หอมสกลนคร สันป่าตอง 1) และกลุ่มพันธุ์ข้าวเจ้า (ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 และหอมสุพรรณ) เนื่องจากผลการศึกษาในฤดูแล้ง 2544 กล้าอ่อนให้ผลผลิตสูงกว่ากล้าอายุแก่ ในฤดูฝนจึงใช้กล้าอายุ 10 วันทั้งในวิธีการ SRI และวิธีปกติ ส่วนการจัดเขตกรรม เช่น การจัดการธาตุอาหาร และการกำจัดศัตรูพืชได้ดำเนินการปกติในทั้งสองวิธีการ

สำหรับในพื้นที่เกษตรกร ได้มีเกษตรกรที่อำเภอแม่แตง และสันทรายร่วมทดลองหลังจากได้มาเยี่ยมชมแปลงทดลองในสถานีในฤดูแล้ง 2544 โดยใช้พันธุ์ข้าว กข 6 และขาวดอกมะลิ 105

ฤดูแล้ง (มกราคม - พฤษภาคม 2545) ได้ดำเนินงานทดลองในสถานีโดยใช้พันธุ์ หอมนิล K58 มะลิแดง และหอมสุพรรณ โดยใช้กล้าอายุ 10 วันสำหรับ SRI และกล้าอายุ 20 วันสำหรับวิธีการปกติ

ได้จัดทำแปลงสาธิตและปรับการให้น้ำวิธี SRI ใช้พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณ และใช้กล้าอายุ 13 วันทั้งสองวิธีการ โดยทำการปลูก 12 เมษายน 2545

นอกจากนี้ได้ปี 2546 ได้ทำการทดลองฤดูฝน โดยใช้กล้าอายุ 14 วันปลูกเดือน กรกฏาคม 2546 ใน สถานีทดลองศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร พันธุ์กข 6 และพนธุ์สันป่าตอง 1

ผลการทดลอง

ในฤดูแล้ง 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 4.35 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติเฉลี่ย 4.81 ตัน/เฮกตาร์ (ตารางที่ 1) แต่วิธีการ SRI ใช้น้ำเพียงร้อยละ 30 ของวิธีการปกติในระหว่างช่วงย้ายปลูกถึงระยะเริ่มออกรวง การใช้กล้าอายุอ่อน (17 วัน) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.76 ตัน/เฮกตาร์ สูงกว่ากล้าอายุแก่ (34 วัน) ซึ่งเฉลี่ย 4.39 ตัน/เฮกตาร์ พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณจัดการแบบ SRI ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติชัดเจนกว่าพันธุ์ข้าวอื่น โดยภาพรวมวิธีการแบบ SRI ไม่ได้แสดงความได้เปรียบด้านผลผลิตต่อวิธีการปกติในฤดูแล้ง 2544

ในฤดูฝน 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 2.19 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติ (3.04 ตัน/เฮกตาร์) ไม่ว่าในสภาพที่มีการใช้ปุ๋ยพืชสดทั้งสองชนิด โสนอัฟริกันและปอเทือง (ตารางที่ 2) 

สำหรับแปลงกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียวและกลุ่มพันธุ์ข้าวเจ้า (ตารางที่ 3) ผลผลิตเฉลี่ยของวิธีการ SRI 2.59 ตัน/เฮกตาร์ ก็ต่ำกว่าวิธีการปกติเฉลี่ย 4.16 ตัน/เฮกตาร์ เช่นเดียวกัน ในฤดูฝนไม่สามารถดำเนินการควบคุมน้ำให้อยู่ในสภาพ SRI ได้ นอกจากนี้ การระบาดของวัชพืชในแปลง SRI จะสูงกว่าวิธีการปกติซึ่งสภาพน้ำท่วมขังควบคุมวัชพืชได้ดีกว่า

งานทดลองในพื้นที่เกษตรกร (ตารางที่ 4) SRI ให้ผลผลิต 3.23 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติซึ่งเฉลี่ย 5.23 ตัน/เฮกตาร์ เช่นเดียวกัน การใช้กล้าอายุอ่อน (10 วัน) มีผลให้การออกรวงและสุกแก่ของข้าวไวแสง กข 6 และขาวดอกมะลิ 105 ช้ากว่าวิธีการปกติ 10 วัน

การศึกษาในฤดูแล้ง 2545 (ตารางที่ 5) ผลของ SRI ในข้าว 3 พันธุ์ หอมนิล K58 และหอมสุพรรณ ให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 ตัน/เฮกตาร์ และ 4.40 ตัน/เฮกตาร์ อย่างไรก็ตามในแปลงสาธิตเมื่อมีการปรับวิธีการให้น้ำโดยรักษาหน้าดินให้ชื้น พันธุ์หอมสุพรรณให้ผลผลิต SRI เฉลี่ย 4.0 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติ เฉลี่ย 3.64 ตัน/เฮกตาร์

โดยภาพรวมแล้ว วิธีการ SRI ที่ดำเนินการทดสอบโดยศูนย์วิจัย ฯ ไม่ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติ โดยเฉพาะผลผลิตในฤดูฝน SRI จะให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติมาก เนื่องจากถูกผลกระทบอย่างรุนแรงของวัชพืช

การย้ายปลูกกล้าอ่อนในแปลงที่ทำเทือกแบบนาหว่านน้ำตามจะช่วยให้มีการยึดรากข้าวได้ดีกว่าแปลงที่มีน้ำท่วมขังดังที่มักปฏิบัติกันในวิธีการปกติ การใช้กล้าอ่อน 1 ต้นต่อหลุมให้การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่ด้อยไปกว่าการใช้กล้าแก่ ซึ่งวิธีการใช้กล้าอ่อน 1ต้นต่อหลุม 

ต่อมาได้มีเกษตรกรใน อ.แม่แตงได้นำไปปฏิบัติในแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งทำให้การคัดทิ้งต้นปลอมปนทำได้สะดวกขึ้น ความแปรปรวนของผลผลิตเกิดจากการควบคุมน้ำในแปลง SRI ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์
Read more ...

ปลูกข้าวต้นเดี่ยว โดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ระบบ มทส

27.1.55
ชื่อเทคโนโลยี : เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการปลูกข้าวต้นเดี่ยวระบบ มทส

ชื่อเจ้าของ : ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด

อีเมล์ : nantakon@sut.ac.th

ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำอธิบาย :

การปลูกข้าวในระบบประณีต (System of Rice Intensification; SRI) คือ การจัดการพืช การจัดการดิน และการจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งการผลิตข้าวในระบบของ มทส. เป็นการประยุกต์และปรับปรุงมาจากวิธีการผลิตข้าวในระบบ SRI ของ Dr.Norman Uphoff และคณะ จึงเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งได้แก่ แหนแดง ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยให้พื้นที่ปลูกข้าวมีน้ำขัง ประมาณ 2-5 ซ.ม. เพื่อให้สามารถเลี้ยงแหนแดงได้

แหนแดง (Azolla) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ

ความเหมาะสมของแหนแดงในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว

- แหนแดงสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณได้รวดเร็ว

- สามารถเลี้ยงแหนแดงได้ให้เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีไนโตรเจนต่ำ

- แหนแดงมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง (3-5%)

- แหนแดงสลายตัวได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิตปุ๋ยให้กับข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bioorganic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่เกิดจากกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆกัน และนำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบนี้จะต่างจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆไป เนื่องจากการผลิตปุ๋ยในระบบนี้จะใช้อุณหภูมิในระหว่างกระบวนการหมักสูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคน สัตว์ และพืช ตลอดจนเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้น ได้ทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งได้แก่ Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิตออกซินได้ นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราปฏิปักษ์ ไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และยับยั้งการทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย

ขั้นตอนการผลิตข้าวโดยการใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต

1. การเพาะกล้าสำหรับการผลิตข้าวในระบบ SRI

จากผลการทดลองในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีขั้นตอนและวิธีการในการเพาะกล้าดังต่อไปนี้

1. ใช้กระบะพลาสติกที่มีรูขนาดเล็กบรรจุด้วยขี้เถ้าแกลบที่เปียกชื้นจากการรดน้ำให้อยู่ตัว จากนั้นทำการเกลี่ยหน้าให้เรียบ (สามารถเพาะในแปลงขนาดเล็กได้)

2.โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำ 12 ช.ม. และห่อผ้า 1-2 คืน จนเมล็ดเริ่มมีรากงอก (เช่นเดียวกับการแช่เมล็ดสำหรับตกกล้า) โดยทำการโรยเมล็ดข้าวให้สม่ำเสมอ

3. โรยขี้เถ้าแกลบกลบบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ทำการรดน้ำให้ชุ่ม

4. วางกระบะกล้าไว้ในที่ร่ม เช่นในโรงเรือนเพาะชำ ใต้หลังคา หรือที่มีลมพัดผ่านได้ เมื่ออายุต้นกล้าได้ 5 วัน ให้นำออกตากแดดและเมื่ออายุได้ 8 วัน สามารถนำไปปลูก ในแปลงปลูกได้ ไม่ควรให้อายุกล้าเกิน 15 วัน เพราะรากกล้าจะยาวมากเกินไป การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนกล้าไปปลูกได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถยำไปได้ทั้งกระบะและวางไว้ใกล้ๆ กลับแปลงปลูก ทำให้ไม่เสียเวลาในการถอน และเคลื่อนย้าย แต่ถ้าเพาะในแปลงเพาะกล้าให้หว่านเมล็ดบางๆ

5. พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

2. การถอนกล้า และการขนย้ายต้นกล้า

- ควรทำการย้ายปลูกกล้าที่อายุประมาณ 8-15 วัน และยังคงให้เมล็ดข้าวติดอยู่

- ในกรณีเพาะในถาดสามารถยกถาดไปยังแปลงปลูกได้เลย

- กรณีเพาะกล้าในแปลงควรทำการถอนทีละน้อยย้ายปลูกทันที

- ควรทำการปักดำกล้าที่ถอนให้แล้วเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

- ไม่ควรล้างรากหรือให้รากกล้าแห้งก่อนทำการปักดำ

3. การเตรียมแปลงปลูก และการปลูกข้าวต้นเดี่ยว

1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1 คืน ทำการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามปริมาณที่ต้องการ

2. ใช้รถไถเดินตามตีดินให้เป็นโคลน โดยให้ระดับน้ำลึก 3-5 ซ.ม.

3. ทำการหว่านแหนแดง ประมาณ 1 กก./พื้นที่ 10 ตร.ม. ทิ้งไว้ 7-10 วัน

4. หลังจาก 7-10 วัน ให้ไถกลบแหนแดงลงแปลงปลูกและทำให้ดินมีลักษณะเป็นโคลน

5.นำเครื่องมือ ซึ่งทำจากท่อ PVC ลากขนานไปกับคันนาให้เป็นส้นตรงในแนวเดียวกันให้เต็มพื้นที่แปลงปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

6. นำข้างที่เพาะไว้ในกระบะเพาะ มาปลูกตรงรอยตัดของสี่เหลี่ยม โดยใช้นิ้วกรีดดินในแนวราบลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร

ต้นข้าวจะต้องตั้งฉากกับแนวราก เป็นรูปตัว “L” (L-shape) และหลังจากการทำการปักดำ 1-2 วัน ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกในระดับน้ำลึกประมาณ 2 ซ.ม. และทำการปล่อยแหนแดงให้ทั่วแปลงในอัตรา 10% ของพื้นที่

4. การดูแลรักษาแหนแดง และระดับน้ำในแปลงปลูก

- ทำการหว่านแหนแดงเพิ่มหลังจากการปักดำ 1-2 (หลังการใส่น้ำในแปลงข้าว)

- ควรให้ระดับสูงประมาณ 2 ซ.ม.ในครั้งแรก เพื่อป้องกันวัชพืชและการเพิ่มกระจายตัวของแหนแดงจากนั้นให้รักษาระดับน้ำไว้ประมาณ 5 ซ.ม.

- หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน

สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับแหนแดงและปุยอินทรีย์ชีวภาพ

1. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย

2. สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน

3. สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

4. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์กกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต

5. ประหยัดน้ำ

6. กำจัดวัชพืชและข้าวปนได้ง่าย

7. อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน

8.จำนวนการแตกกอสงกว่าปกติ 2-3 เท่า

9.เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปกติ

10. ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%
Read more ...

การปลูกข้าวด้วยต้นกล้าต้นเดียวต่อ 1 กอ

27.1.55
การปลูกข้าวด้วยต้นกล้าต้นเดียวต่อ 1 กอ 

System of Rice Intensification (SRI: เอส อาร์ ไอ)

(กรกฎาคม. 2548)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อการเพิ่มผลผลิตในพื้นที่

2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน

3. เพื่อคัดเลือก และผลิตเมล็ดพันธุ์ ด้วยการปลูกแบบข้าวกล้องต้นเดียว

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

1. เลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ คัดเลือกเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ คือ อวบ ใส และมีตาข้าว

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำประมาณ 12-24 ชั่วโมง ในน้ำอุ่น 30-40 องศาเซลเซียสจะดีที่สุด หากต้องการป้องกันโรคหรือแมลงไว้ล่วงหน้า เช่น โรคบั่ว ควร นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำเกลือ หรือ น้ำสะเดา ไว้ 1 คืน

3. นำเมล็ดพันธุ์ผึ่งลมให้แห้ง

หมายเหตุ : เนื้อที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

การเตรียมแปลงเพาะกล้า

เลือกแปลงเพาะกล้าใกล้แปลงที่จะปลูกข้าว ทำแปลงเพาะกล้าให้เหมือนแปลงผัก โดยผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อให้ดินร่วนซุย เอาฟางคลุมพื้นที่แปลงไว้ จากนั้นรดน้ำให้มีความชุ่มชื้นในช่วงเช้า-เย็น (ไม่ควรรดน้ำในขณะที่แดดร้อนจัด) ความชื้นในแปลงควรเหมาะสม ไม่ควรให้น้ำท่วมแปลงโดยการทำทางระบายน้ำเล็กๆเพื่อให้น้ำไหลออก

หรืออีกวิธีหนึ่งที่จะสะดวกต่อการขนย้ายต้นกล้า คือการเพาะเมล็ดในกระบะ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการขนย้ายแล้วยังช่วยทะนุถนอมต้นกล้าขณะเวลาปักดำ

การเตรียมแปลงปักดำ

หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรไถกลบตอซัง แล้วบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น พืชตระกูลถั่ว ปลูกพืชหลังนา เช่น โสนอัฟริกัน หรือจะทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หว่านในนาก็ได้ ก่อนปักดำควรปรับที่นาให้ได้ระดับเดียวกัน และทำร่องน้ำตามขอบคันนาเพื่อช่วยในการระบายน้ำเข้า-ออก สูบน้ำเข้าแปลงนาให้ดินเป็นโคลนเหนียวข้น ไม่ควรปล่อยให้ดินเละหรือมีน้ำท่วมขัง

การขนย้ายต้นกล้าออกจากแปลงเพาะ

1. ถอนกล้าเมื่อมีอายุ 8-12 วัน (มีใบ 2 ใบเท่านั้น) อย่างระมัดระวัง ให้ต้นกล้ากระทบกระเทือนน้อยที่สุด

2. ถอนต้นกล้าเบาๆตรงโคนต้น ใช้เครื่องมือเล็กๆ เช่น เกรียง หรือเสียม ขุดให้ลึกถึงใต้ราก ควรระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง

3.ระหว่างการย้ายกล้าต้องทำอย่างเบามือ ไม่ควรทิ้งกล้าไว้กลางแดดและรีบนำกล้าไปปักดำทันที (ภายใน 15-30 นาที)

การปักดำ

นำต้นกล้ามาปักดำอย่างเบามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก แล้วนำไปปักให้รากอยู่ในแนวนอนลึกประมาณ 1 เซนติเมตร

ปักดำกล้าทีละต้น ให้มีความห่างของระยะต้นไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตรเท่าๆกัน จนเหมือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ควรปักดำในระยะห่าง 30 x 30 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดเล็ก หรือ 40 x 40 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดใหญ่)

การบำรุงดูแลรักษา

การจัดการน้ำ

- แปลงเพาะปลูกควรปรับให้เรียบสม่ำเสมอ และทำร่องน้ำเพื่อช่วยในการระบายน้ำเข้า-ออก

- แปลงปักดำไม่ควรมีน้ำท่วมขัง เพียงแต่ทำให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น

- ขณะที่ข้าวแตกหน่อ (1-2 เดือนหลังปักดำ) ปล่อยน้ำเข้านาให้สูง 2 เซนติเมตรทุกๆเช้า แล้วปล่อยน้ำออกในช่วงบ่าย หรือสามารถปล่อยทิ้งให้นาแห้งประมาณ 2-6 วัน -เมื่อข้าวแตกกอ ปล่อยให้แปลงข้าวแห้งลงไปในเนื้อดิน ไม่ต้องกังวลหากหน้าดินจะเป็นรอยแตกบนผิวโคลน

- ขณะที่ข้าวตั้งท้องจนเริ่มออกรวง ปล่อยให้น้ำท่วมสูงประมาณ 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น

- ทันทีที่ต้นข้าวเริ่มลู่ลง เพราะน้ำหนักของเมล็ดข้าว ให้ปล่อยน้ำออกจากนาจนกว่าจะแห้งและถึงเวลาเก็บเกี่ยว

การกำจัดวัชพืช

ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

ครั้งที่ 1 เมื่ออายุข้าว 10 วัน 
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุข้าว 25-30 วัน 
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุข้าว 50-60 วัน 

ทั้งนี้การกำจัดวัชพืช สามารถใช้เครื่องมือทุ่นแรง ทางที่เหมาะสมและดีที่สุดจึงเป็นการถอนด้วยมือนั่นเอง

นอกจากนี้การจัดน้ำเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ หรือเอาฟางคลุมแปลงจะช่วยกำจัดวัชพืชได้ดี

สำหรับการกำจัดศัตรูของข้าว เช่น ปู หอยเชอรรี่

ทำได้โดยการเลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ดในนาข้าว แต่เมื่อข้าวออกรวงจะต้องห้ามเป็ดเข้านาโดยเด็ดข้าว หรือทำน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

สำหรับวิธีการป้องกันนก

ทำได้โดยการขึงเชือกเทปล้อมรอบแปลงนา เมื่อลมพัดจะทำให้เกิดเสียงดัง แล้วนกจะไม่มารบกวน
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ชาวนาในญี่ปุ่น และมาดากัสการ์ใช้กัน เรียกว่า คราดหมุน ซึ่งในขณะที่ไถทับวัชพืช จะเป็นการพรวนดินไปในตัว ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ส่วนซากวัชพืชจะกลายเป็นปุ๋ยหมักสำหรับต้นข้าวอย่างดี แต่เมื่อทดลองไถพรวนใช้กับดินทางภาคอีสาน นั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากดินเป็นดินทราย

เหตุใด ปลูกข้าวต้นเดียวจึงได้ผลผลิตดีกว่า

1. การใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียว

2. ต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆสองใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่ จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดีและการผลิตหน่อจะมีมาก

3. การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น

4. การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่ายและทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว

5. การปักดำในระยะห่างช่วยให้รากแผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่

การจัดการน้ำ

1. การปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตในดินที่แห้งสลับเปียกทำให้ข้าวสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง และรากของต้นข้าวสามารถงอกยาวออกเพื่อหาอาหาร 

2. การปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในแปลง ทำให้ซากพืชเน่าเปื่อย และก่อให้เกิดก๊าซมีเทนปลดปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้น

3. การปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตในน้ำท่วมขัง ทำให้รากต้นข้าวต้องสร้างถุงลมเล็กๆ เพื่อดูดออกซิเจนจากผิวดินทำให้การส่งอาหารไปสู่หน่อและใบถูกรบกวน รากข้าวจะหายใจลำบาก

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ประหยัดเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก

2. ประหยัดน้ำได้ครึ่งหนึ่งจากการทำนาแบบปกติ

3. สามารถใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าว แต่หากต้องการผลผลิตสูงควรเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพอากาศ

4. จากประสบการณ์ของเกษตรกร พบว่าหากเป็นนาอินทรีย์ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 60% และในประเทศลาวพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100%

5. ประหยัดแรงงานในการลงกล้า (ประหยัดต้นทุนในการผลิต)

6. การกำจัดวัชพืชทำได้ง่าย เพราะมีช่องว่างระหว่างกอข้าว หรือการควบคุมน้ำเข้า-ออก
Read more ...

การปลูกข้าวต้นเดียว(SRI)แบบอินทรีย์

27.1.55
เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพเต็มที่ใน การแตกกอและออกรวง

หลังจากกระเด็นกระดอนอยู่บนถนนลูกรังที่ตัดผ่านทุ่งนาผืนกว้างมาได้ครึ่งชั่วโมง รถกระบะสีน้ำเงินของโครงการเสริมประสิทธิภาพเกษตรกร (คสป.) ก็มาจอดอยู่ตรงหน้าบ้านไม้หลังใหม่ของรุ่งโรจน์ ขจัดโรคา ซึ่งกำลังง่วนอยู่กับพิธีขึ้นบ้านใหม่และเตรียมอาหารเลี้ยงญาติมิตรที่มาร่วมงาน

พวกชาวบ้านดูไม่แปลกใจกับการมาเยือนของคนแปลกหน้า บางคนคงเดาออกแล้วด้วยซ้ำว่าเราดั้นด้นมาถึงตำบลทมอของพวกเขาเพื่อตามหา ‘ข้าวอินทรีย์’ ที่ขายดีหนักหนา และเป็นสินค้าส่งออกไปถึงทวีปยุโรป

“ยุโรป” อยู่ห่างจากตำบลทมอกี่หมื่นไมล์ชาวนาอย่างรุ่งโรจน์และพรรคพวกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ไม่รู้ พวกเขารู้แต่เพียงว่า ข้าวหอมมะลิจากนาของตนนั้นจะถูกส่งไปขายชาวยุโรป ซึ่งส่งใบสั่งซื้อมาไม่ขาดสาย ทั้งยังให้ราคาดีกว่าข้าวที่ปลูกแบบใช้สารเคมีอีกด้วย- -คุ้มค่าเหนื่อยที่เฝ้าลงแรงปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปลูกถั่ว ปลูกต้นโสนหลังเกี่ยวข้าวเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน ทั้งยังต้องเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว ปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวกันชนเพื่อป้องการสารเคมีจากแปลงนาของเพื่อนบ้าน และปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.) มาตลอดหลายปี

ตำนานเกษตรอินทรีย์ของ “กลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติตำบลทมอ” ที่หมู่บ้านโดนเลงใต้ ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อาจไม่เข้มข้นเร้าใจเหมือนเรื่องราวของเกษตรกรที่อื่นๆ ซึ่งผ่านฝันร้ายจากการทำเกษตรแบบใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้ามาอย่างโชกโชน เพราะเริ่มต้นขึ้นง่ายๆ จากการที่มีคนมาขอซื้อข้าวพันธุ์เหลืองอ่อน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากในตำบลทมอ โดยผู้ซื้อระบุไว้ด้วยว่าต้องการซื้อข้าวเหลืองอ่อนปลอดสารเคมี คือใส่ปุ๋ยเคมีได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่ และห้ามใช้ยาปราบศัตรูพืชและวัชพืช

อาจเป็นเพราะเกษตรกรของที่นี่บางส่วนไม่นิยมใช้ยาฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลงมาแต่เดิม การปลูกข้าวปลอดสารเคมีจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องฝืนความรู้สึกและความเคยชินอยู่บ้างเมื่อต้องลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง และหันมาบำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดแทน

จากการปลูกข้าวแบบปลอดสารเคมี พวกเขาก็เริ่มพัฒนามาปลูกข้าวอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ คือเลิกใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาดด้วยการสนับสนุนจากโครงการเสริมประสิทธิภาพเกษตรกรสุรินทร์ (คปส.) ซึ่งทั้งแนะนำเทคนิคขั้นตอนการปลูกข้าวแบบอินทรีย์และจัดการหาตลาดให้

การเพาะปลูกระบบอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มกท. นั้นสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ให้ความหมายไว้ว่า เป็น “ระบบเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และระบบนิเวศเกษตร” นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี สารเคมีสังเคราะห์กำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ วิถีเกษตรอินทรีย์จะลดการพึ่งพาปัจจัยผลิตจากภายนอก ขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในตำบลทมอเพิ่มจำนวนจาก 7 รายในปี พ.ศ. 2539 เป็น 170 รายในปัจจุบัน แต่เหตุที่เราต้องเจาะจงมาพบรุ่งโรจน์ ชาวนาวัย 30 ปีที่หมู่บ้านโดนเลงใต้แห่งนี้ก็เพราะเขาเป็นเกษตรกร 1 ใน 3 รายในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นรายแรกๆ ของประเทศที่ทดลองปลูกข้าวอินทรีย์ด้วย “วิธีใหม่” ซึ่งถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากชาวนาในมาดากัสการ์สู่ชาวนาใน 20 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา กัมพูชา และไทย

“พวกชาวบ้านหาว่าผมบ้า เดินผ่านที่นาก็พากันล้อว่าปลูกแบบนี้จะได้กินหรือ?”

รุ่งโรจน์ เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขาลงมือปลูก “ข้าวต้นเดียว” ท่ามกลางแวดล้อมของเพื่อนบ้านที่มาร่วมยินดี และมีข้าวเปลือกในกระบุงเป็นส่วนหนึ่งของพิธี

ข้าวต้นเดียว มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “ระบบการปลูกข้าวแบบเข้มข้น” หรือ System of Rice Intensification - SRI

รุ่งโรจน์ ได้ยินเรื่องราวของการทำนาแบบ SRI จากการไปอบรมเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตรเมื่อปีปลายปี 2544 เขากลับมาที่หมู่บ้านพร้อมกับตำราหนึ่งเล่มที่บรรยายหลักการของ SRI ไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่อายุของต้นกล้าที่ใช้ การเคลื่อนย้ายต้นกล้ามาปลูก ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละต้น การจัดเรียงรากของต้นข้าวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไปจนกระทั่งถึงการปล่อยน้ำเข้านา และการจัดการกับวัชพืช

เดือนมิถุนายนปี 2546 หลังจากอ่านตำราอย่างละเอียด ปรึกษากับพ่อและเพื่อนจนเริ่มมั่นใจ รุ่งโรจน์ กับพ่อก็ตัดสินใจลงมือปลูกข้าวแบบ SRI ในที่นาประมาณ 2 ไร่

“ผมลองทำเพราะอยากได้ผลผลิตเยอะๆ เหมือนกับชาวนาจากกัมพูชาที่เล่าให้ฟังว่าการปลูกข้าวต้นเดียวทำให้เขาได้ผลผลิตตั้ง 900-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดเราใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแล้วยังได้แค่ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่” ชายหนุ่มพูดด้วยสำเนียงควบกล้ำชัดตามธรรมชาติของคนใช้ภาษาเขมรในชีวิตประจำวัน แล้วตบท้ายว่า “ผมอยากรู้จริงๆ ว่าไอ้ข้าวต้นเดียวนี่มันให้ผลผลิตเยอะจริงอย่างที่เขาพูดหรือไม่”

ปัจจุบันวิธีการของ SRI กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรเอง แต่เหตุที่ยังมีชาวนาลงมือทำกันน้อยอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้าน SRI วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเทคนิคนี้ “ฟังดูดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้”

คู่มือการปลูกข้าว SRI ฉบับภาษาไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยทีมงานส่งเสริมเกษตรสถาบันแมคเคน (เชียงใหม่) เมื่อเดือนตุลาคม 2544 แนะนำการปลูกข้าวแบบนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า

“SRI เริ่มจากหลักปรัชญาที่ว่า ต้นข้าวต้องได้รับความเคารพและจุนเจือประหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพ ซึ่งศักยภาพนี้จะเปล่งออกมาก็ต่อเมื่อเราอำนวยสภาวะที่ดีที่สุดที่เอื้อต่อการเติบโตของพืช หากเราช่วยให้พืชเจริญเติบโตด้วยหนทางใหม่ที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทนความพยายามนั้นกลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ปฏิบัติต่อพืชเยี่ยงเครื่องจักรน้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง วิธีการทำนาที่เกษตรกรทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆ ปีได้ทำให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าวลดลง วิธี SRI นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติเดิมๆ เพื่อนำศักยภาพสำคัญในต้นข้าวออกมาใช้เพิ่มผล"

เพื่อให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพในการออกรวงได้เต็มที่ รุ่งโรจน์เริ่มต้นด้วยการเตรียมดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเช่นเดียวกับการปลูกข้าวอินทรีย์ จากนั้นสูบน้ำเข้านาพอให้ดินเป็นโคลน จากนั้นก็ไถแปรแล้วคราดให้เรียบเสมอกันทั้งแปลง เช้าวันรุ่งขึ้นจึงนำต้นกล้าอายุ 8 วันที่เตรียมเอาไว้มาปักดำทีละต้น โดยปลูกห่างกันที่ระยะ 40X40 เซ็นติเมตร

“ต้นกล้าอายุ 8 วัน เป็นช่วงที่มีพลังมากมายเหมือนกับวัยเด็ก ต้นกล้าที่อายุเยอะจะไม่ค่อยแตกกอ เวลาย้ายต้นกล้ามาลงแปลงต้องแซะอย่างประณีต และต้องให้มีดินติดรากมาด้วย เมื่อแซะมาแล้วต้องปลูกให้หมดภายใน 20 นาที เพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้กล้าจะเหี่ยวเฉาและอารมณ์ไม่ดี ปักดำทีละต้น โดยรากต้องอยู่ลึกไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และจัดเรียงรากให้แผ่ไปตามแนวนอนในทิศทางเดียวกัน” รุ่งโรจน์อธิบายพร้อมสาธิตการจัดเรียงรากของต้นกล้าด้วยมือเปล่าให้ดู “พอปักดำเสร็จมองไม่เห็นต้นข้าวในนาเลย ใครเดินผ่านมาเห็นเขาก็หัวเราะเยาะว่าปลูกอย่างนี้สงสัยจะไม่ได้กิน…”

การปักต้นกล้าทีละต้นนี่เองที่เป็นหัวใจของ SRI แถมยังเป็นที่มาของชื่อ ข้าวต้นเดียว หรือ ‘ปักเดี่ยว’ ที่รุ่งโรจน์และชาวบ้านโดนเลงใต้ตั้งชื่อให้อีกด้วย

อองรี เดอ โลลานี ชาวฝรั่งเศสที่พัฒนาวิธีการ SRI ขึ้นระหว่างที่เขาทำงานร่วมกับชาวนาในมาดากัสการ ์ระหว่างปี 2504-2538 บอกว่า การปักต้นกล้าทีละหลายต้นอย่างที่ชาวนาทั่วโลก ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้จะทำให้ต้นข้าวแย่งอาหาร และแสงแดดกัน ทำให้เติบโตได้ไม่เต็มที่และออกรวงน้อย ดังนั้นแม้ว่าวิธีการปลูกข้าวแบบเดิมนี้ จะช่วยเลี้ยงประชาชนนับพันล้านคนมานานนับศตวรรษ แต่เกษตรกรจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงการปลูกข้าวด้วยวิธีใหม่ที่ต่างออกไป เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มและไม่ทำลายดิน น้ำ อากาศเหมือนกับการใช้สารเคมีเร่งผลผลิต

รุ่งโรจน์ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการปลูกข้าว SRI กับการปลูกข้าวทั่วไปว่า “ปกติเราใช้ต้นกล้าอายุ 30-40 วัน พอถอนกล้ามาแล้วก็ไม่ต้องรีบปลูกให้เสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บางทีแช่น้ำไว้จนเกือบเน่าแล้วค่อยปักดำ เวลาย้ายกล้าไม่ต้องระมัดระวังขนาดนี้ ถ้ามีดินติดรากมา เราก็เอาต้นกล้าฟาดกับหน้าแข้งเพื่อให้ดินหลุด ซึ่งการปลูกแบบ SRI ห้ามเด็ดขาด เวลาปลูกก็ปักกล้าลงไปตรงๆ ทีละหลายๆ ต้น ไม่ต้องวัดระยะห่าง ไม่ต้องจัดเรียงรากให้เป็นแนว”

ตามคู่มือการปลูกแบบ SRI คำอธิบายสำหรับขั้นตอนอันละเอียดอ่อนเหล่านี้มีว่า ต้นกล้าอ่อนๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากได้รับการสัมผัสเบาๆ การเติบโตจะไม่ชะงักและใบไม่เหลือง การฟาดต้นกล้าเพื่อให้ดินหลุดก็เหมือนกับการฟาดหัวเด็กนั่นเอง การจัดตำแหน่งรากให้อยู่ในแนวนอนจะทำให้ปลายรากชอนไชลงดินได้ง่ายและเป็นการประหยัดพลังงานของข้าวทำให้ข้าวตั้งตัวได้เร็ว, การปลูกกล้าให้เสร็จภายใน 15-30 นาทีหลังจากถอนต้นกล้ามาก็เพื่อช่วยลดความเครียดให้กับต้นข้าว, ส่วนการปักต้นกล้าให้ห่างกัน 40x40 เซ็นติเมตร จะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและทำให้ข้าวแตกกอได้ใหญ่กว่า

ความยากของ SRI ไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนการเตรียมกล้าและปักดำเท่านั้น พ่อศิริชัย ชุ่มมีชัย หนุ่มใหญ่อีกรายหนึ่งในตำบลทมอ ที่สมัครใจทดลองการปลูกข้าวต้นเดียวพร้อมกับรุ่งโรจน์เมื่อปีก่อนบอกว่า การจัดการน้ำและ วัชพืชเป็นเรื่องใหญ่ที่ชาวนาต้องเตรียมรับมือให้ดี

แทนที่จะปล่อยน้ำให้ขังในนาช่วงที่ข้าวกำลังเจริญเติบโตเพื่อป้องกันวัชพืชอย่างที่ชาวนาทำกันอยู่ทุกวันนี้ ระบบการปลูกข้าวต้นเดียวแนะนำให้เกษตรกรปล่อยให้นาแห้งเป็นช่วงๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับออกซิเจนมากขึ้นและได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเพิ่มผลผลิต แต่การปล่อยให้นาแห้งนั้นจะทำให้มีวัชพืชมาก ดังนั้นเกษตรกรจะต้องขยันถอนวัชพืช ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องพร้อมที่จะเสียแรงงานมากขึ้นและใช้เวลาอยู่ในนาข้าวมากขึ้นกว่าเดิม

“การปลูกแบบปักเดี่ยวนี่ ถ้าใส่น้ำเยอะข้าวก็ไม่แตกกอ แต่ถ้าปล่อยให้ดินแห้งหญ้ามันก็ขึ้นรกอีก” พ่อศิริชัย เล่าประสบการณ์ “แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ ที่นาเราอยู่นอกเขตชลประทาน อาศัยแต่ฝนฟ้า มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะควบคุมน้ำเข้า-ออกที่นาได้ตามสูตรที่เขากำหนด”

ลำพังการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ก็นับว่าเป็นเรื่องแปลกเอาการอยู่แล้วสำหรับเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เคยชินกับการหว่านปุ๋ย-พ่นยาในนาข้าว แต่ SRI หรือที่บางคนเรียกว่า “การปลูกข้าวแบบมาลากาซี” ดูเหมือนจะแปลกยิ่งกว่า เพราะการปักดำต้นกล้าทีละต้นและการปล่อยที่นาให้แห้งตามกระบวนการของ SRI นั้นเป็นเรื่องที่ขัดความรู้สึก-ฝืนความเคยชินของชาวนาอย่างรุนแรง

แต่ชาวนานักทดลองอย่าง พ่อศิริชัย และ รุ่งโรจน์ ก็ยินดีจะฝืนและเสียแรงเสียเวลาไปกับการดูแลแปลงนา SRI

“เราจะปักใจเชื่อตามหนังสือหรือที่คนอื่นเล่าไม่ได้ ถ้าไม่ลองทำดูก็ไม่รู้ว่าการปลูกข้าวแบบนี้จะให้ผลผลิตเป็นพันกิโลต่อไร่จริงหรือเปล่า เราอยากรู้ว่าที่ดินตรงนี้จะปลูกข้าวต้นเดียวได้หรือไม่” พ่อศิริชัยบอกเหตุผลที่แกยอมถูกเพื่อนบ้านหัวเราะเยาะ และทะเลาะกับภรรยาซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทดลอง

เราไปถึงหมู่บ้านโดนเลงใต้เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2547 ที่นาของ พ่อศิริชัย และ รุ่งโรจน์ ไม่มี “ข้าวต้นเดียว” ให้เห็น เพราะถูกเก็บเกี่ยวไปหมดตั้งแต่เดือนธันวาคม และที่นาก็ถูกแทนที่ด้วยพืชหลังนา เช่น ถั่ว งา ตามวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็นับว่าเป็นจังหวะดี เพราะตลอด 6 เดือนที่ผ่านมานั้น พวกเขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์การปลูกวิธี SRI มาได้ชุดใหญ่ และพร้อมจะบอกเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง ถึงความยากง่ายและปัญหาที่พบเจอระหว่างการทดลองครั้งสำคัญ

และต่อไปนี้คือผลการทดลองของชาวนาทั้งสอง

รุ่งโรจน์ : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 2 ไร่ ปักต้นกล้าประมาณ 500 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นกล้า 1 ต้นแตกกอได้ถึง 40 ต้น ข้าวหนึ่งรวงมีเมล็ดข้าวประมาณ 230 เมล็ด (ข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีจะมี 170-180 เมล็ดต่อหนึ่งรวง)

พ่อศิริชัย : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 1 งาน ปักต้นกล้าไปประมาณ 100 กว่าต้น ได้ผลผลิต 160 กิโลกรัม (4 กระสอบ) ต้นกล้า 1 ต้น แตกกอได้มากที่สุดถึง 44 ต้น (ข้าวอินทรีย์ทั่วไปจะแตกกอได้ 5-10 ต้นเท่านั้น)

ต้นข้าวที่ปลูกแบบ SRI ของทั้งสองคนเจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวทั่วไป คือ ตั้งต้นได้ภายใน 3 วันหลังจากปักดำ นอกจากนี้ยังแตกเป็นกอใหญ่ ออกรวงเยอะ ลำต้นใหญ่ แข็งแรง บางต้นสูงกว่า 2 เมตร รากแผ่ขยายเป็นวงกว้างทำให้สามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นได้มากกว่า

ถึงตอนนี้พวกชาวบ้านเริ่มตื่นเต้นสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในที่นาของรุ่งโรจน์และพ่อศิริชัย หลายคนบอกกับพวกเขาว่า “ไม่น่าเชื่อ“

ชาวนาทั้งสองสรุปว่า วิธี SRI ให้ผลผลิตสูงอย่างเห็นได้ชัดจริง แม้ยังไม่มากถึง 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างที่บันทึกเอาไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินในตำบลทมอไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์และไม่เรียบสม่ำเสมอ การทำนายังต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถจัดการน้ำในนาได้ นอกจากนั้นเกษตรกรไม่มีเวลาดูแลนา-กำจัดวัชพืชได้เต็มที่ เพราะต้องทำนาอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย แต่ผลผลิตระดับ 700 กว่ากิโลกรัมถือว่าน่าจะพอให้ชาวนายิ้มออก และน่าจะถือเป็นความสำเร็จขั้นต้นสำหรับความพยายามที่จะต่อยอดการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ในแง่ของการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย หรือใช้สารเคมีที่เป็นภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

“ถึงอย่างไรผมก็จะลองปลูกอีกรอบ” พ่อศิริชัยประกาศ “ทดลองดูว่าปลูกช่วงเวลาไหน ระยะห่างแค่ไหนถึงจะดีที่สุด เพราะมันไม่มีอะไรเสียหาย อย่างน้อยก็เป็นการคัดพันธุ์ข้าวไปในตัว” นอกเหนือจากชาวบ้านโดนเลงใต้ ขณะนี้ในประเทศไทยมีการทดลองปลูกข้าวแบบ SRI อย่างน้อยอีก 3 แห่ง คือที่ตำบลสำโรง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับ อนุวัฒน์ จันทร์เขต หรือ “หนุ่ม” เจ้าหน้าที่ คปส. ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยรุ่งโรจน์และพ่อศิริชัยเก็บข้อมูลการทำนา SRI ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การปลูกข้าวต้นเดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นี่ เพราะที่นามีความสูงต่ำไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาเรื่องน้ำ และเกษตรกรมีที่นามากทำให้ดูแลกำจัดวัชพืชได้ไม่ทั่วถึง เขาคิดว่าวิธีนี้น่าจะเหมาะกับคนที่มีที่นาเล็กๆ ขนาด 3-5 ไร่เท่านั้น

ถึงกระนั้นหนุ่มก็ยืนยันว่า คปส. จะเดินหน้าส่งเสริมการปลูกข้าวแบบ SRI ต่อไป เพราะการปลูกข้าวต้นเดียวนี้มีประโยชน์มหาศาลต่อการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนา

“การปลูกข้าวทีละต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่าต้นไหนไม่ใช่ข้าวมะลิ 105 หรือเป็นข้าวเมล็ดลีบที่ปะปนมา เพราะดูจากเมล็ดข้าวเราไม่มีทางรู้ ต่อเมื่อข้าวแตกกอขึ้นมาเราถึงจะรู้ว่าเมล็ดข้าวนั้นเป็นพันธุ์อะไร ถ้าเป็นพันธุ์อื่นเราก็ถอนทิ้งไป เก็บแต่ต้นที่เป็นพันธุ์แท้เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ข้าวลงได้มาก” หนุ่มอธิบาย

เขาบอกว่าในอนาคต คปส. จะตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวเพื่อเก็บข้าวหอมมะลิพันธุ์แท้ที่มีคุณภาพดีไว้ให้สมาชิก โดยยินดีจะรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัดมาจากแปลง SRI ของเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าตลาดเล็กน้อย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรทดลองทำนาแนวใหม่นี้กันมากขึ้น

หน้านาปีนี้ นอกจากรุ่งโรจน์กับพ่อศิริชัยแล้ว สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อีกอย่างน้อยสองราย คือ มิตร บุญทวี และภาคภูมิ อินทร์แป้น ประกาศว่าจะหาแปลงนาที่เหมาะๆ เพื่อทดลองปลูกข้าวต้นเดียวดูบ้าง

เรื่องที่ต้องทำงานหนักขึ้น ปรับเปลี่ยนความเชื่อความเคยชินในการทำนา หรือการถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ จากเพื่อนบ้านนั้น พวกเขารับมือได้สบายๆ เพราะเคยผ่านมันมาหมดแล้ว เมื่อครั้งที่ตัดสินใจเปลี่ยนจากการทำนา “เคมี” มาเป็น “อินทรีย์”

บางทีชาวนากลุ่มนี้อาจเป็นผู้ค้นพบวิธีการปลูกข้าว SRI แบบไทยๆ ที่เหมาะสมกับเกษตรกรและนาข้าวในประเทศไทย--ทำให้วิธีการทำนาที่ “ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นจริง” นี้ได้รับการยอมรับแพร่หลายเหมือนอย่างที่ “เกษตรอินทรีย์” เคยทำสำเร็จมาแล้วก็เป็นได้

ที่สำคัญ SRI อาจเป็นหนทางในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่ชาวนามีโอกาสเป็นผู้ทดลอง และเลือกใช้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงของบริษัทข้ามชาติ อย่างการดัดแปรพันธุกรรมที่กำลังจู่โจมประเทศเกษตรกรรมอย่างหนักอยู่ในวันนี้
Read more ...