บาทหลวง Fr. Henri de Laulanie
ในขณะที่ทำงานเพื่อปรับปรุงผลผลิตข้าวในประเทศมาดากัสการ์
ระหว่างปี 2504 - 38 (Uphoff, 2002)
ระบบดังกล่าวนี้เน้นหลักการจัดการสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ของต้นข้าวให้เกิดการ เกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนแสดงออกซึ่งศักยภาพอย่างเต็มที่ ในทางปฏิบัติคือ ย้ายปลูกกล้าข้าวที่อายุ 8 - 10 วัน (ระยะ 2 ใบ) ให้รากได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยใช้ความหนาแน่น 1 ต้นต่อหลุม ที่ระยะตั้งแต่ 25 x 25 ถึง 40 x 40 ซม. ควบคุมการให้น้ำแบบสลับแห้งและเปียก ตั้งแต่ระยะย้ายปลูก จนถึงก่อนออกรวง และปล่อยน้ำท่วมขังที่ระดับ 2 ซม.
หลังต้นข้าวออกรวงจนถึงกระทั่ง 14 วันก่อนเก็บเกี่ยว จึงปล่อยน้ำทิ้ง กำจัดวัชพืชด้วยแรงคนโดยถูกลบวัชพืชระหว่างแถวข้าวด้วย "จอบหมุน" ประมาณ 10 วันหลังย้ายปลูก และทุก 10 วัน ประมาณ 3 ครั้ง ตามความจำเป็น งานวิจัยในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตข้าวโดยวิธี SRI เฉลี่ย 6.8 ตัน/เฮกตาร์ และกลุ่มที่ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 10.5 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการแบบเดิมให้ผลผลิตเฉลี่ย 3.9 ตัน/เฮกตาร์ (http://ciifad.cornell.edu/sri/)
หลักการปฏิบัติวิธีการแบบ SRI
- อายุกล้า 8-15 วัน (ระยะ 2 ใบ)
- ย้ายปลูก ต้นต่อหลุม (ระยะ 25x25 , 40x40)
- ลดการกระแทกของราก
- ให้น้ำสลับแห้งและเปียก จนถึงช่วงออกดอก
ความเป็นประโยชน์ของ SRI ในระบบข้าวของภาคเหนือตอนบน
- เหมาะสมสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก
- เหมาะสมสำหรับระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก
- เพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่สูง เพื่อลดการขาดแคลน
- เหมาะสมสำหรับแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก
งานทดลองที่ดำเนินการเพื่อปรับใช้วิธีการ SRI ในสถานีทดลองศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร และในพื้นที่เกษตรกรประกอบด้วย
ฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2544)
ใช้พันธุ์ข้าว 5 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวสันป่าตอง1 หอมสกลนคร และพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิล หอมสุพรรณ และมะลิแดง ภายใต้การจัดการแบบ SRI และแบบปกติ เนื่องจากต้นกล้าเจริญเติบโตช้าภายใต้อุณหภูมิต่ำ กล้าข้าวที่ระยะ 2 ใบพร้อมย้ายปลูกได้มีอายุ 17 วันในระบบ SRI และอายุ 34 วันในระบบปกติ โดยใช้ระยะปลูก 25 x 25 ซม.
ฤดูฝน (กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2544)
ฤดูฝน (กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2544)
ดำเนินการทดลองทั้งในสถานีทดลองและในพื้นที่เกษตรกร ในสถานีทดลองได้ดำเนินการภายใต้มีปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกัน และปอเทือง) โดยมีพันธุ์ข้าวประกอบด้วย หอมสุพรรณ หอมนิล และหอมสกล นอกจากนี้ได้ดำเนินการเปรียบเทียบวิธีการ SRI และวิธีการปกติในกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียว (กข 6 หอมสกลนคร สันป่าตอง 1) และกลุ่มพันธุ์ข้าวเจ้า (ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 และหอมสุพรรณ) เนื่องจากผลการศึกษาในฤดูแล้ง 2544 กล้าอ่อนให้ผลผลิตสูงกว่ากล้าอายุแก่ ในฤดูฝนจึงใช้กล้าอายุ 10 วันทั้งในวิธีการ SRI และวิธีปกติ ส่วนการจัดเขตกรรม เช่น การจัดการธาตุอาหาร และการกำจัดศัตรูพืชได้ดำเนินการปกติในทั้งสองวิธีการ
สำหรับในพื้นที่เกษตรกร ได้มีเกษตรกรที่อำเภอแม่แตง และสันทรายร่วมทดลองหลังจากได้มาเยี่ยมชมแปลงทดลองในสถานีในฤดูแล้ง 2544 โดยใช้พันธุ์ข้าว กข 6 และขาวดอกมะลิ 105
ฤดูแล้ง (มกราคม - พฤษภาคม 2545) ได้ดำเนินงานทดลองในสถานีโดยใช้พันธุ์ หอมนิล K58 มะลิแดง และหอมสุพรรณ โดยใช้กล้าอายุ 10 วันสำหรับ SRI และกล้าอายุ 20 วันสำหรับวิธีการปกติ
ได้จัดทำแปลงสาธิตและปรับการให้น้ำวิธี SRI ใช้พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณ และใช้กล้าอายุ 13 วันทั้งสองวิธีการ โดยทำการปลูก 12 เมษายน 2545
นอกจากนี้ได้ปี 2546 ได้ทำการทดลองฤดูฝน โดยใช้กล้าอายุ 14 วันปลูกเดือน กรกฏาคม 2546 ใน สถานีทดลองศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร พันธุ์กข 6 และพนธุ์สันป่าตอง 1
ผลการทดลอง
ในฤดูแล้ง 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 4.35 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติเฉลี่ย 4.81 ตัน/เฮกตาร์ (ตารางที่ 1) แต่วิธีการ SRI ใช้น้ำเพียงร้อยละ 30 ของวิธีการปกติในระหว่างช่วงย้ายปลูกถึงระยะเริ่มออกรวง การใช้กล้าอายุอ่อน (17 วัน) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.76 ตัน/เฮกตาร์ สูงกว่ากล้าอายุแก่ (34 วัน) ซึ่งเฉลี่ย 4.39 ตัน/เฮกตาร์ พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณจัดการแบบ SRI ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติชัดเจนกว่าพันธุ์ข้าวอื่น โดยภาพรวมวิธีการแบบ SRI ไม่ได้แสดงความได้เปรียบด้านผลผลิตต่อวิธีการปกติในฤดูแล้ง 2544
ในฤดูฝน 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 2.19 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติ (3.04 ตัน/เฮกตาร์) ไม่ว่าในสภาพที่มีการใช้ปุ๋ยพืชสดทั้งสองชนิด โสนอัฟริกันและปอเทือง (ตารางที่ 2)
สำหรับในพื้นที่เกษตรกร ได้มีเกษตรกรที่อำเภอแม่แตง และสันทรายร่วมทดลองหลังจากได้มาเยี่ยมชมแปลงทดลองในสถานีในฤดูแล้ง 2544 โดยใช้พันธุ์ข้าว กข 6 และขาวดอกมะลิ 105
ฤดูแล้ง (มกราคม - พฤษภาคม 2545) ได้ดำเนินงานทดลองในสถานีโดยใช้พันธุ์ หอมนิล K58 มะลิแดง และหอมสุพรรณ โดยใช้กล้าอายุ 10 วันสำหรับ SRI และกล้าอายุ 20 วันสำหรับวิธีการปกติ
ได้จัดทำแปลงสาธิตและปรับการให้น้ำวิธี SRI ใช้พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณ และใช้กล้าอายุ 13 วันทั้งสองวิธีการ โดยทำการปลูก 12 เมษายน 2545
นอกจากนี้ได้ปี 2546 ได้ทำการทดลองฤดูฝน โดยใช้กล้าอายุ 14 วันปลูกเดือน กรกฏาคม 2546 ใน สถานีทดลองศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร พันธุ์กข 6 และพนธุ์สันป่าตอง 1
ผลการทดลอง
ในฤดูแล้ง 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 4.35 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติเฉลี่ย 4.81 ตัน/เฮกตาร์ (ตารางที่ 1) แต่วิธีการ SRI ใช้น้ำเพียงร้อยละ 30 ของวิธีการปกติในระหว่างช่วงย้ายปลูกถึงระยะเริ่มออกรวง การใช้กล้าอายุอ่อน (17 วัน) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.76 ตัน/เฮกตาร์ สูงกว่ากล้าอายุแก่ (34 วัน) ซึ่งเฉลี่ย 4.39 ตัน/เฮกตาร์ พันธุ์ข้าวหอมสุพรรณจัดการแบบ SRI ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติชัดเจนกว่าพันธุ์ข้าวอื่น โดยภาพรวมวิธีการแบบ SRI ไม่ได้แสดงความได้เปรียบด้านผลผลิตต่อวิธีการปกติในฤดูแล้ง 2544
ในฤดูฝน 2544 ผลผลิตข้าวโดยวิธีการ SRI เฉลี่ย 2.19 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติ (3.04 ตัน/เฮกตาร์) ไม่ว่าในสภาพที่มีการใช้ปุ๋ยพืชสดทั้งสองชนิด โสนอัฟริกันและปอเทือง (ตารางที่ 2)
สำหรับแปลงกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียวและกลุ่มพันธุ์ข้าวเจ้า (ตารางที่ 3) ผลผลิตเฉลี่ยของวิธีการ SRI 2.59 ตัน/เฮกตาร์ ก็ต่ำกว่าวิธีการปกติเฉลี่ย 4.16 ตัน/เฮกตาร์ เช่นเดียวกัน ในฤดูฝนไม่สามารถดำเนินการควบคุมน้ำให้อยู่ในสภาพ SRI ได้ นอกจากนี้ การระบาดของวัชพืชในแปลง SRI จะสูงกว่าวิธีการปกติซึ่งสภาพน้ำท่วมขังควบคุมวัชพืชได้ดีกว่า
งานทดลองในพื้นที่เกษตรกร (ตารางที่ 4) SRI ให้ผลผลิต 3.23 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติซึ่งเฉลี่ย 5.23 ตัน/เฮกตาร์ เช่นเดียวกัน การใช้กล้าอายุอ่อน (10 วัน) มีผลให้การออกรวงและสุกแก่ของข้าวไวแสง กข 6 และขาวดอกมะลิ 105 ช้ากว่าวิธีการปกติ 10 วัน
การศึกษาในฤดูแล้ง 2545 (ตารางที่ 5) ผลของ SRI ในข้าว 3 พันธุ์ หอมนิล K58 และหอมสุพรรณ ให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 ตัน/เฮกตาร์ และ 4.40 ตัน/เฮกตาร์ อย่างไรก็ตามในแปลงสาธิตเมื่อมีการปรับวิธีการให้น้ำโดยรักษาหน้าดินให้ชื้น พันธุ์หอมสุพรรณให้ผลผลิต SRI เฉลี่ย 4.0 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติ เฉลี่ย 3.64 ตัน/เฮกตาร์
โดยภาพรวมแล้ว วิธีการ SRI ที่ดำเนินการทดสอบโดยศูนย์วิจัย ฯ ไม่ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติ โดยเฉพาะผลผลิตในฤดูฝน SRI จะให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติมาก เนื่องจากถูกผลกระทบอย่างรุนแรงของวัชพืช
การย้ายปลูกกล้าอ่อนในแปลงที่ทำเทือกแบบนาหว่านน้ำตามจะช่วยให้มีการยึดรากข้าวได้ดีกว่าแปลงที่มีน้ำท่วมขังดังที่มักปฏิบัติกันในวิธีการปกติ การใช้กล้าอ่อน 1 ต้นต่อหลุมให้การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่ด้อยไปกว่าการใช้กล้าแก่ ซึ่งวิธีการใช้กล้าอ่อน 1ต้นต่อหลุม
งานทดลองในพื้นที่เกษตรกร (ตารางที่ 4) SRI ให้ผลผลิต 3.23 ตัน/เฮกตาร์ ต่ำกว่าวิธีการปกติซึ่งเฉลี่ย 5.23 ตัน/เฮกตาร์ เช่นเดียวกัน การใช้กล้าอายุอ่อน (10 วัน) มีผลให้การออกรวงและสุกแก่ของข้าวไวแสง กข 6 และขาวดอกมะลิ 105 ช้ากว่าวิธีการปกติ 10 วัน
การศึกษาในฤดูแล้ง 2545 (ตารางที่ 5) ผลของ SRI ในข้าว 3 พันธุ์ หอมนิล K58 และหอมสุพรรณ ให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 ตัน/เฮกตาร์ และ 4.40 ตัน/เฮกตาร์ อย่างไรก็ตามในแปลงสาธิตเมื่อมีการปรับวิธีการให้น้ำโดยรักษาหน้าดินให้ชื้น พันธุ์หอมสุพรรณให้ผลผลิต SRI เฉลี่ย 4.0 ตัน/เฮกตาร์ ในขณะที่วิธีการปกติ เฉลี่ย 3.64 ตัน/เฮกตาร์
โดยภาพรวมแล้ว วิธีการ SRI ที่ดำเนินการทดสอบโดยศูนย์วิจัย ฯ ไม่ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปกติ โดยเฉพาะผลผลิตในฤดูฝน SRI จะให้ผลผลิตต่ำกว่าวิธีการปกติมาก เนื่องจากถูกผลกระทบอย่างรุนแรงของวัชพืช
การย้ายปลูกกล้าอ่อนในแปลงที่ทำเทือกแบบนาหว่านน้ำตามจะช่วยให้มีการยึดรากข้าวได้ดีกว่าแปลงที่มีน้ำท่วมขังดังที่มักปฏิบัติกันในวิธีการปกติ การใช้กล้าอ่อน 1 ต้นต่อหลุมให้การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่ด้อยไปกว่าการใช้กล้าแก่ ซึ่งวิธีการใช้กล้าอ่อน 1ต้นต่อหลุม
ต่อมาได้มีเกษตรกรใน อ.แม่แตงได้นำไปปฏิบัติในแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งทำให้การคัดทิ้งต้นปลอมปนทำได้สะดวกขึ้น ความแปรปรวนของผลผลิตเกิดจากการควบคุมน้ำในแปลง SRI ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น