เกษตรกรหลายท่านคงมีปัญหาเหมือนท่านนี้ ที่เวลาปลูกสตรอเบอรี่ มักมีโรคระบาดที่มาทางดิน เช่นโรคแอนแทรกโนส การควบคุมส่วนใหญ่ เกษตรกรจะใช้สารเคมีเป็นหลัก มีบางรายใช้สารชีวภาพ เพื่อลดต้นทุน แต่กลับไม่ได้ผล
ตามทันเกษตรวันนี้ มีผลงานวิจัยของ
ด็อกเตอร์ปรีดา นาเทเวศน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพืชสวน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ปลูกสตรอเบอรี่รูปแบบใหม่ ด้วยวิธีไฮโดรโปนิคส์หรือไร้ดิน หมดปัญหาเรื่องโรคระบาดทางดิน และเกษตรกรสามารถนำไปทำตามได้ง่าย
สำหรับวิธีการปลูก มี 2 แบบให้เลือกครับ วิธีแรก โดยทำแปลงปลูกคล้ายรูปหลังเต่าเหมือนทั่วไป จากนั้นขุดร่องตรงกลางลงไปคล้ายรูปตัววี ความลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วนำผ้าใบหนาปูทับลงไป ใช้แกลบดำผสมกับปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เทลงไปในร่อง
สำหรับวิธีการปลูก มี 2 แบบให้เลือกครับ วิธีแรก โดยทำแปลงปลูกคล้ายรูปหลังเต่าเหมือนทั่วไป จากนั้นขุดร่องตรงกลางลงไปคล้ายรูปตัววี ความลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วนำผ้าใบหนาปูทับลงไป ใช้แกลบดำผสมกับปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เทลงไปในร่อง
จากนั้นจะวางระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและปุ๋ยแล้วจึงนำต้นพันธุ์หรือไหลลงปลูก ส่วนการปลูกอีกวิธี อาจารย์เรียกว่าแบบยกสูง ซึ่งได้ดัดแปลงวิธีมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้โครงเหล็กมาทำเป็นชั้นปลูก ความสูงประมาณ 1.20 เมตร หรือขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งาน ใช้ผ้าพลาสติกหนาสีดำมาปู สำหรับเป็นรางปลูก ใส่ขุยมะพร้าวลงไป แล้ววางระบบน้ำและลงปลูกต้นพันธุ์เหมือนวิธีแรก
ส่วนการดูแล จะให้น้ำและแม่ปุ๋ยเคมีละลายบำรุงต้นเหมือนกันทั้ง 2 วิธี โดยจะให้เป็นเวลา วันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 15 นาที คือในช่วงเช้าประมาณ 07.00 น. และอีกช่วงประมาณ 14.00 น. ส่วนการป้องกำจัดโรคและแมลง จะใช้สารชีวภาพมาช่วยควบคุม
ส่วนการดูแล จะให้น้ำและแม่ปุ๋ยเคมีละลายบำรุงต้นเหมือนกันทั้ง 2 วิธี โดยจะให้เป็นเวลา วันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 15 นาที คือในช่วงเช้าประมาณ 07.00 น. และอีกช่วงประมาณ 14.00 น. ส่วนการป้องกำจัดโรคและแมลง จะใช้สารชีวภาพมาช่วยควบคุม
สำหรับเกษตรกรหรือคุณผู้ชมที่สนใจ อาจารย์ก็พร้อมจะเผยแพร่วิธีการปลูก-การดูแลให้ครับ ซึ่งวิธีนี้ช่วยประหยัดค่าต้นทุนการใช้สารเคมีได้
ข้อมูลเพิ่มเติม,โทร.053-873-380 , (ในวันและเวลาราชการ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น