โดย http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/knowledge/2012/488-katang
ในอดีตที่ผ่านมาการทำเกษตรกรรม การปลูกพืช หรือการเลี้ยงสัตว์ ล้วนแต่ทำเพื่อพออยู่พอกิน เหลือก็เอาไปขายซื้อสิ่งของอย่างอื่นที่ในพื้นที่ของตัวเองไม่มี ประกอบกับประชากรในประเทศยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ครอบครัวหนึ่งจะมีพื้นที่ถือครองอย่างน้อย 10 ไร่ขึ้นไป
แต่ในปัจจุบันประชากรในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ พื้นที่ทางการเกษตรหรือพื้นที่ถือครองลดน้อยถอยลง และกลายเป็นบ้านจัดสรรไปก็มาก พื้นที่ในบริเวณบ้านที่จะปลูกไม้ผลไว้รับประทานก็แทบจะไม่มี เพราะฉะนั้นทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ผักผลไม้ต้องซื้อหาแทบทั้งนั้น เกษตรกรผู้ผลิตผักผลไม้ก็ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช อย่างไม่ระมัดระวังและเกินความจำเป็น ทำให้ประชาชนทั่วไปที่บริโภคได้รับสารเคมีเหล่านั้นตกค้าง ต้องผจญกับโรคภัยไข้เจ็บและต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการรักษา และรัฐต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลในการนำเข้ายารักษาโรค ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องช่วยกันทำให้บ้านเรามีอากาศที่บริสุทธิในการหายใจ มีผลไม้ไว้รับประทานและใช้ประดับไว้บริเวณบ้าน มีผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน ประหยัดรายจ่ายตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญยังสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้รักใคร่กลมเกลียวในการชื่นชมผลผลิต ดอกและผลที่ได้ร่วมกันปลูก
ประโยชน์ของการปลูกไม้ผลในภาชนะ
- เจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลูกลงดิน เพราะดินปลูกมีความร่วนซุย และ โปร่ง
- ใช้พื้นที่น้อย
- ให้ผลผลิตเร็ว
- ดูแลรักษาด้านโรค แมลง วัชพืช และการห่อผลง่าย
- บังคับออกดอกติดผลได้
- ควบคุมคุณภาพ และรสชาติได้ ดีกว่าปลูกลงดิน
- สามารถเคลื่อนย้าย หรือยกขายทั้งภาชนะได้
- ใช้เป็นไม้ประดับภายในบ้าน
- สร้างบรรยากาศภายในครอบครัว
- ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ มลภาวะ คายออกซิเจน และลดโลกร้อน
ชนิดของไม้ผลที่ปลูกในภาชนะ
ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ มะนาว ขนุน น้อยหน่า มะปราง มะยงชิด ละมุด มะละกอ กล้วย มะดัน ชมพู่ ลองกอง เงาะ มังคุด ทุเรียน เชอร์รี่ มะขาม มะไฟ มะเฟือง ฯลฯ
ภาชนะที่ใช้ปลูก
- วัสดุที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น ปีบ กะละมัง ถังน้ำ ตุ่มใส่น้ำ ตุ่มกรองน้ำ หม้อต่างๆ ยางรถยนต์ ฯลฯ - กระถางพลาสติก กระถางดินเผา กระถางโอ่งมังกรราชบุรี วงบ่อซีเมนต์ ฯลฯ
วัสดุปลูก
- ดินดำ(หน้าดิน) 1 ส่วน
- แกลบดิบ 2 ส่วน
- มูลวัว, ควาย 1 ส่วน
การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์
ระยะปลูกตั้งแต่ ระยะระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร ขึ้นไป ( 1 ไร่จะปลูกได้ 133 ต้น) บ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อซีเมนต์วางลงบนพื้นปรับให้เรียบ เอาวงบ่อวงซีเมนต์วางทับบนฝา จากนั้นผสมดิน 1 ส่วน แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในวงบ่อซีเมนต์ เหลือขอบวงบ่อซีเมนต์ไว้ประมาณ 3 นิ้ว นำไม้ผลลงปลูก และรดน้ำ ปักไม้ผูกเชือกลำต้นกันลมโยก เป็นอันว่าเสร็จกระบวนการ
7ประโยชน์ของวัสดุคลุมดิน
- ประหยัดน้ำ และประหยัดแรงงานในการให้น้ำ ปกติการปลูกไม้ผลในภาชนะต้องรดน้ำวันเว้นวัน ถ้าหาก ใช้วัสดุคลุมหน้าดิน 4 วันรดน้ำ 1 ครั้ง เนื่องจากการระเหยของน้ำจากแสงแดด
- ป้องกันวัชพืช และประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช วัชพืชไม่ได้รับแสงจึงไม่สามารถงอกได้
- เพิ่มธาตุอาหาร และประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ย เมื่อวัสดุคลุมหน้าดินโดนน้ำมีความชื้น จะทำให้การย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้เร็ว
- ไม่เกิดมลภาวะในการเผาทำลาย
วัสดุคลุมดิน
ได้แก่ ฟางข้าวแห้ง หญ้าแห้ง ชังข้าวโพดแห้ง กิ่งไม้บดแห้ง แกลบ (เปลือกข้าว) ผักตบชวาแห้ง เศษผัก เศษอาหาร พืชตะกุลถั่ว มูลวัว กากแอปเปิ้ล ฟางข้าวสาลี กระดาษ ขี้เลื่อย กาแฟบด เปลือกไม้ ขยะผลไม้ มูลสัตว์ปีกสด มูลม้า หนังสือพิมพ์ ใบสน มูลที่เน่าเปื่อย ใบไม้แห้ง(ใบจามจุรี หรือใบก้ามปู ดีที่สุด มีไนโตรเจน 3.25 เปอร์เซ็นต์)
การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับพืชผัก
ในระหว่างไม้ผลเจริญเติบโต และยังไม่ให้ผลผลิต เราควรจะใช้พื้นที่ในวงบ่อซีเมนต์ให้เกิดประโยชน์ โดยการปลูกพืชผักในวงบ่อซีเมนต์ ไว้บริโภคในครัวเรือน และยังทำไปจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ชนิดพืชผักที่สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลได้ เช่น ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ คะน้า กะหล่ำ ผักบุ้งจีน มะเขือ กระเจี๊ยบ กระเพรา โหรพา สละแหน่ ผักไผ่ คื่นฉ่าย ผักชี พริก ฯลฯ
การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์
ระยะปลูกตั้งแต่ ระยะระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร ขึ้นไป ( 1 ไร่จะปลูกได้ 133 ต้น) บ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อซีเมนต์วางลงบนพื้นปรับให้เรียบ เอาวงบ่อวงซีเมนต์วางทับบนฝา จากนั้นผสมดิน 1 ส่วน แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในวงบ่อซีเมนต์ เหลือขอบวงบ่อซีเมนต์ไว้ประมาณ 3 นิ้ว นำไม้ผลลงปลูก และรดน้ำ ปักไม้ผูกเชือกลำต้นกันลมโยก เป็นอันว่าเสร็จกระบวนการ
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9 ในวันและเวลาราชการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น