ฝรั่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายเพราะเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยซึ่งคนไทยรู้จักและนิยมบริโภคฝรั่งกันอย่างแพร่หลายทั้งในรูปผลสดและแปรรุปต่างๆ จากที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นผลดีต่อผู้ผลิตเพราะสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ง่าย และจะได้ราคาสูงขึ้นถ้าหากสามารถ ผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง
ปัญหาของการผลิตฝรั่งโดยทั่วไป คือ ฝรั่งเป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทยจึงการปลูกกันอย่างแพร่หลาย มีทั้งการปลูกแบบที่มีการจัดการที่ดีและปลูกแบบไม่มีการจัดการเลย ทำให้คุณภาพผลผลิตไม่สม่ำเสมอและมีราคาไม่คงที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง โดยเฉพาะแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ผลผลิตฝรั่งไม่ได้คุณภาพ และไม่สามารถจำหน่ายได้
กรณีที่จะปลูกเป็นการค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องห่อผลทุกผลซึ่งการห่อผลจะทำให้ผิวสวยและมีคุณภาพดี ฝรั่งเป็นไม้ผลที่ออกดอกและติดผลง่ายไม่จำเป็นต้องมีการบังคับให้ยุ่งยากแบบองุ่นหรือลำไยเพียงตัดแต่งกิ่งให้ได้กิ่งที่สม่ำเสมอก็จะให้ผลผลิตที่ดีและสม่ำเสมอ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดทรงต้นแบบขึ้นค้างและการเลี้ยงกิ่งแบบก้างปลา(ภาพที่ 5 ) โดยให้กิ่งที่จะให้ผลผลิต(cane)มีขนาดและความยาวสม่ำเสมอกันทุกกิ่งซึ่งจะส่งผลให้การออกดอกและติดผลง่าย ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี ประกอบกับการทำค้างจะช่วยให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ลดการเกิดโรค ช่วยลดการใช้สารเคมี และ ยังสะดวกในการห่อผล ทำให้ผลผลิตได้คุณภาพดี นอกจากนี้กิ่งบนค้างยังสามารบดบังแสงแดดให้กับผลผลิต จึงไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษห่อผลก่อนที่จะห่อด้วยถุงหลาสติก ปละยังช่วยบังแสงแดดให้กับชาวสวนผู้ปลูกได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในการทดสอบการผลิตฝรั่งแบบขึ้นค้าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นแปลงสาธิตในการผลิตแบบประณีต โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตฝรั่งให้ได้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการผลิตนอกฤดู หรือ ผลิตให้ได้ผลผลิตตลอดทั้งปี ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้ดีและเป็นการส่งเสริมเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตฝรั่งระบบค้าง ให้กับเกษตรกรปละผู้สนใจทั่วไปให้มีการผลิตที่ปราณีตและได้คุณภาพอย่างแพร่หลายต่อไป
ภาพที่ 2 : ลักษณะการทำค้างแบบผืนผ้า(Pergola) และการดึงลวดททางเดียวจากหัวแปลงไปท้ายแปลง
++ การเตรียมการจัดทำค้าง ++
การทำค้างนอกจากทำให้การจัดการดูแลฝรั่งได้ง่ายแล้วยังช่วยให้มีการรับแสงแดดได้ดีและมีการระบายถ่ายเทอากาศ ลดการเกิดโรคและรวมถึงลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคด้วย ซึ่งการทำค้างสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการจัดการหรือวัตถุประสงค์ในการจัดการ เช่น ทำเพื่อผลิตฝรั่งเพื่อการค้าหรือทำเพื่อเป็นซุ้ม หรือร่มเงา เพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ในที่นี้ผู้เขียนขอเน้นการจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพื่อการค้า โดยสามารถทำค้างเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 : การทำค้างเป็นผืน(Pergola) สามารถทำค้างเป็นผืนทั้งแปลง (ภาพ 2 ) โดยใช้เสาคอนกรีตอัดแรงหรือเสาไม้เนื้อแข็งขุดฝังดินและใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเหล้กกล่องหรือเหล็กตัวซีทำคาน ให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 180 ซม. ดึงเส้นลวดเบอร์ 16 แนวหัวท้ายแปลงให้มีระยะห่างระหว่างเส้นลวดประมาณ 30 ซม. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการกิ่งบนค้าง และการระบายอากาศ ลดการเกิดโรค(ภาพที่ 1) ซึ่งการทำค้างแบบเป็นผินจะช่วยลดต้นทุนแต่มีข้อเสียคือกิ่งที่ได้อาจมีขนาดเล็กลง แต่จะมีข้อดีคือฝรั่งมีความหวานสูง
แบบที่ 2 : การทำค้างรูปตัววาย (Y-shaped) การทำค้างแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับการทำเป็นผืนเพียงแต่จะยุ่งยากกว่าเล็กน้อบคือต้องลดระดับเส้นลวดในส่วนที่เป็นกิ่งหลักลงเพื่อให้กิ่ง cane ตั้งขึ้นเป็นมุม 45-60 องศา จะทำให้กิ่ง cane สามารถเจริญเติบโตได้ดีทำให้ได้กิ่งที่ใหญ่และโดยทั่วไปผรั่งเป็นไม้ผลที่ออกดอกและติดผลในยอดที่แตกใหม่ได้ง่าย ดังนั้นการโน้มกิ่งลงมาเพียงเล็กน้อยจะไม่ส่งผลต่อการออกดอกติดผล แต่ทำให้กิ่ง cane มี่คุณภาพดี และจะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีขึ้นด้วย (ภาพที่ 3 ) ซึ่งในการทำค้างแบบตัววายได้ทำเป็นแปลงสาธิตที่โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
ภาพที่ 3 : ลักษณะทำค้างรูปตัววาย(Y-shaped) และการดึงลวดทางเดียวจากหัวแปลงไปท้ายแปลง
การจัดการกิ่งฝรั่งบนค้าง : ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น เมื่อนำมาจัดการกิ่งขึ้นค้างถือเป็นเทคนิคการจัดการแบบใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ความเข้าใจถึงนิสัยการเจริยเติบดตของฝรั่งและนำมาประยุกตืใช้กับการจัดการกิ่งบนค้าง ซึ่งดดยทั่วไปฝรัางจะออกดอกและติดผลได้ดีหลังจากที่แตกยอดใหม่ กล่าวคือ เมื่อมียอดใหม่แตกออกมาจากกิ่งที่ให้ผลผลิต (cane) ประมาณ 3-5 คู่ใบก็จะมีดอกออกมาให้เห็น ดังนั้นถ้าเราทำการจัดเรียงกิ่ง cane ให้เป็นระเบียบแบบก้างปลาบนค้าง(ภาพที่ 4)และบังคับให้กิ่ง cane มีขนาดและความยาวสม่ำเสมอทั้งต้น ซึ่งจะได้จำนวนกิ่ง cane ประมาณ 40 กิ่งต่อต้น (ระยะปลูกระหว่างแถว 3 เมตร ระหว่างต้น 4 เมตร)
ภาพที่ 4 : แบบจำลองการจัดกิ่งบนค้างแบบเป็นผืน โดยการจัดเรียง อย่างเป็นระเบียบแบบก้างปลา
ในแต่ละกิ่ง cane จะมีความยาวประมาณ 1-1.5 เมตร สามารถบังคับให้เกิดยอดใหม่ได้ 10-15 ยอดใหม่ ในการจัดกิ่งเมื่อฝรั่งให้ผลผลิตจะทำให้สามารถให้ผลผลิตต่อกิ่งได้มากขึ้นคือ 5 ผลต่อ 1 กิ่ง cane (โดยทั่วไปจะตัดแต่งผลทิ้งโดยให้ติด ผลประมาณ 5 ผลต่อกิ่ง cane) เพราะมีเส้นลวดรองรับกิ่งที่ให้ผลผลิตทำให้สามารถให้ผลผลิตต่อกิ่ง cane เพิ่มได้มากขึ้นและลดปัญหาเรื่องกิ่งหักเมื่อผลผลิตมีขนาดใหญ่ขึ้น
(ก) ลักษระค้างแบบผืน
(ข) การเด็ดยอดเพื่อแตก 2 ข้าง และ เลี้ยงต้นฝรั่งขึ้นค้าง
(ค)การเลี้ยงกิ่งหลักออก 2 ข้างตามแนวลวด
(ง)การเลี้ยงแบบกิ่งก้างปลา
ก)ลักษณะกิ่งข้าง cane ที่แตกออกจากกิ่งหลัก
ข)ปล่อยกิ่งข้าง cane ให้เจริญตั้งตรงขึ้นไปประมาณ 80 ซม.
ค)โน้มกิ่ง cane ลงโดยการโน้มสลับกิ่งให้ออกซ้าย-ขวาแบบก้างปลา และผูกยึดติดแนวลวด
ง)เด็ดปลายยอดกิ่ง cane ที่ได้ความยาวตามต้องการเพื่อให้กิ่งที่เจริญยังไม่เต็มที่เจริญต่อ
จ)เครื่องยึดกิ่งให้ติดแนวลวดจะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
ฉ)กิ่งที่ยึดติดกับลวดและจัดกิ่งอย่างเป็นระเบียบ
นอกจากนี้การจัดการกิ่งบนค้างจะทำให้ง่ายต่อการประมาณการณ์ผลผลิตโดยการไว้จำนวนหิ่ง ประมาณ 10 กิ่ง cane ต่อความยาวของกิ่งประมาณ 1 เมตร ในแต่ละกิ่ง cane จะให้ผลผลิตประมาณ 5 ผล ถ้าปลูกระหว่างต้น 4 เมตร จะได้กิ่ง cane จำนวน 40 กิ่งซึ่งจะได้ผลผลิตประมาณ 200 ผล ปริมาณ 2-3 ผลต่อกิโลกรัม จะได้ผลผลิต 50-70 กิโลกรัม และจะเพิ่มมากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น ถือเป็นการจัดการผลผลิตที่ประณีตและคุ้มค่าต่อการลงทุน
++ วิธีการเลี้ยงกิ่ง ++
1. เริ่มจากการปลูกผรั่งให้มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงจนถึงค้างที่ความสูงประมาณ 180 ซม. โดยการใช้ไม้หรือเชือกบังคับต้นให้ตั้งตรงและหมั่นเด็ดยอดที่แตกด้านข้างลำต้นออกเพื่อให้เจริญเติบดตให้ถึงค้างได้อย่างรวดเร็ว
2. เมื่อต้นถึงค้างให้เด็ดปลายยอดออก โดยเด็ดยอดให้ต่ำกว่าค้างประมาณ 25 ซม. หรือ ประมาณ 1 คืบ จากนั้นปล่อยฝห้แตกยอดข้าง 2 ยอด และปล่อยให้เจริญเติบโตและยางพ้นค้างประมาณ 80 ซม.(ภาพที่ 5 ข)
3. โน้มกิ่งทั้ง 2 ด้าน(กิ่งหลัก) ที่สูงจากลวดลงและทำการยึดกิ่งให้จิดกับเส้นลวดทั้ง 2 กิ่ง (ภาพที่ 5 ค)
4. เมื่อโน้มกิ่งหลักลงจะทำให้แตกกิ่งข้างออกจากกิ่งหลัก ปล่อยให้กิ่งข้างเจริญเติบโตและมีความยาวประมาณ 80 ซม. จากนั้นโน้มกิ่งลงให้กิ่งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบคล้ายก้างปลา(เลี้ยงกิ่งแบบก้างปลา)และมัดกิ่งให้ยึดติดกับลวก ซึ่งกิ่งก้างปลาจะเปลี่ยนเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิต(cane)(ภาพที่ 5 ง)
5. เลี้ยงกิ่งหลักและกิ่ง cane ให้มีความยาวและกิ่งเต็มค้างโดยการเด็ดปลายยอดของกิ่ง cane เมื่อได้ความยาวตามที่ต้องการ(1-1.5 เมตร) ซึ่งการเด็ดยอดจะเป็น การบังคับให้มีการเจริญบริเวณส่วนปลายยอดของกิ่งหลัก และ กิ่ง cane ที่แตกออกมาใหม่ข้าวงยอดหลักเพื่อบังคับให้มีการเจริญเติบโตของกิ่งจนเต็มค้างและยึดกิ่งให้มีช่องว่างที่สม่ำเสมอ(15-20 ซม.) เพื่อให้แดดส่องถึง เพื่อลดการระบาดของโรคและทำให้ใบรับแสงได้เต็มที่ (ภาพที่ 6 ก-ง)
6. ในช่วงการเจริญเติบโตให้ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยเคมี สูตร46-0-0 ผสมกับ 15-15-15 อัตรา 20 กรัม (1 ช้อนแกง ) ต่อต้น ใส่จนกระทั่งกิ่งโตเต็มค้าง
7. เมื่อกิ่งเต็มค้างให้เปลี่ยนใส่ปุ๋ยสุตร 8-24-24 เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอก เมื่อกิ่ง cane เริ้มเปลี่ยนสีให้ทำการงดน้ำประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นการออกดอกที่สม่ำเสมอ
8. เมื่อแตกยอดใหม่บนกิ่ง cane ประมาณ 3-5 คู่ ใบจะเริ่มออกดอกที่ยอดใหม่ (ภาพที่ 7 ก) และยอดที่แตกออกจากกิ่ง cane ที่มีจำนวนมากให้ทำการปลิดหรือตัดทิ้งให้เหลือไว้ประมาณ 5-7 ยอดโดยสลับยอดให้ออกซ้าย-ขวา
(ก) ลักษระยอดที่แตกจากกิ่ง cane และมีดอกจำนวนมาก
(ข) ยอดที่แตกจากกิ่ง cane ที่ต้องตัดทิ้งให้เหลือเพียง 5-7 ยอด
(ค) ขนาดผลที่พร้อมจะห่อ
(ง) ถุงห่อใช้ถุงห่อมะม่วง(ถุงคาร์บอนภายนอกสีน้ำตาล ภายในสีดำ )
และจะติดผลภายใน 1 สัปดาห์ เมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ทำให้การผลิตผลในแต่ละยอดอ่อนที่แตกใหม่ให้เหลือ 1 ผล ต่อยอด (ภาพที่ 7 ข)
โดยเลือกผลที่มีรูปทรงที่ดีที่สุดและไม่ถูกโรคหรือแมลงเข้าทำลาย (ภาพที่ 7ค)
9. ห่อผลด้วยถุงหลาสติกใส(ไม่ต้องห่อกระดาษเพราะมีใบบังแสงแดด) หรือถุงห่อที่เป็นกระดาษสีขาวหรือถ้าต้องการให้สีผิวผลออกมาสีขาวให้ใช้ถุงห่อกระดาษคาร์บอน(ถุงห่อผลมะม่วง) (ภาพที่ 7 ง)
10. ผลผลิตที่ได้จะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากกิ่งและยอดที่ให้ผลผลิตมีขนาดสมดุลกันทั้งต้น ทำให้การกระจายธาตุอาหารเป็นไปอย่างทั่วถึง ทั้งนี้การห่อผลยังช่วยในการเพิ่มขนาดผลผลิตได้และยังป้องกันการเข้าทำของโรค แมลง และ สัตว์ต่างๆ ได้
ติดตามอ่านเทคโนโลยีการปลูกฝรั่งขึ้นค้างต่อในฉบับหน้า ..
ที่มาและภาพประกอบ :
ดร.ชินพันธ์ ธนารุจ."การผลิตฝรั่งแบบประณีตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยการปลูกฝรั่งขึ้นค้าง".วารสารเคหการเกษตร 37, ฉบับที่ 9(2556):109-113
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น